แม้จะมีความตึงเครียดและมาตรการคว่ำบาตรบางส่วน รวมถึงการวิจารณ์ที่รุนแรงของสหรัฐฯ แต่รัสเซียก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯภายใต้การบริหารของานของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯเท่าไรนัก เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างนายทรัมป์ และนายปูติน ดูจะเป็นไปด้วยดี
แต่ถ้าเป็น “นายโจ ไบเดน” ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย.นี้ บรรดานักเศรศาสตร์เชื่อว่า “จะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย
กลุ่มนักวิเคราะห์ คาดว่า ชัยชนะของนายไบเดน จะนำมาซึ่ง
- ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย
- ความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะถูกคว่ำบาตร “ครั้งใหม่”
ขณะที่รัสเซียอยู่ภายใต้การคว่ำบาตรจากนานาชาติ อันเนื่องจาก
ปี 2014 - ความตึงเครียดวิกฤตยูเครนบริเวณคาบสมุทรไครเมีย
ปี 2016 - การแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ปี 2018 - รายงานว่ามีส่วนเกี่ยวกับกับการโจมตีหน่วยงานในอังกฤษ
---------------
ที่ปรึกษาจาก Teneo Intelligence กล่าวว่า “ชัยชนะของนายไบเดน” อาจมีการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-อียู ในประเด็น “ความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก – Transatlantic Trade and Investment Partnership หรือ TTIP”
นอกจากนี้ อาจเห็นสนธิสัญญาใหม่ของสหรัฐฯกับองค์การ NATO ที่คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากทางฝั่งยุโรป
ดังนั้น จากทั้งหมดที่กล่าวมาจะกดดันรัสเซียในทิศทางขาลงอย่างมาก โดยอ้างถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางความสัมพันธ์ของรัสเซียและสหรัฐฯ ในยุคที่พรรคเดโมแครตเป็นผู้นำ
อย่างไรก็ดี ความเป็นไปได้ที่นาย “ไบเดน” ชนะ จะส่งผลลบกับรัสเซีย และอาจนำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างสองประเทศ และจะเห็นได้ว่านายไบเดนเองก็มีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อทีมบริหารของนายวลาดิเมียร์ ปูติน ด้วยเช่นกัน
---------------
นักกลยุทธ์ตลาดเกิดใหม่ระดับอาวุโสจาก Bluebay Asset Management มองว่า การคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ “ไม่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น” ในทันที
แต่ให้จับตาความสำคัญทางด้าน “ภาคธุรกิจของสหรัฐฯที่มีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับทางรัสเซีย” ซึ่งประเด็นนี้ที่น่าจะเป็นผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีคนใหม่อย่าง “นายไบเดน” อาจต้องมีการเรียนรู้ความสามารถในความอดทนของข้อแตกต่างระหว่างกันและกัน รวมทั้งผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ สนธิสัญญาการควบคุมอาวุธ และการลดความเสี่ยงของข้อพิพาทที่จะส่งผลให้เกิดการบรรลุกลยุทธ์ด้านผลประโยชน์ เช่น กรณียูเครน, เบลาลุส และตุรกี
อย่างไรก็ดี การคว่ำบาตรจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือของทางสหรัฐฯ แต่ไม่ใช่เครื่องมือทั้งหมด
“สนธิสัญญาลดอาวุธยุทธศาสตร์” จะเป็นจุดที่สหรัฐฯและรัสเซียน่าจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันและความสามัคคีบางส่วน เนื่องด้วย นายไบเดนมีการส่งสัญญาณมาโดยตลอดในปี 2019 ว่าเขาต้องการที่จะเห็นการขยายสนธิสัญญาการลดอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯ-รัสเซีย หรือที่รู้จักในนาม New Strategic Arms Reduction Treaty หรือความหมายโดยนัยที่ใกล้เคียงกัน
ที่มา: CNBC