• “ทรัมป์” หรือ “ไบเดน” ไม่ว่าใครดอลลาร์ก็อ่อนค่า!

    3 พฤศจิกายน 2563 | Economic News

กลุ่มนักวิเคราะห์และบรรดานักลงทุน ระบุว่า ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯครั้งนี้ดูจะส่งผลระยะยาวต่อค่าเงินดอลลาร์ ที่ไม่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นได้ไม่ว่าใครจะชนะก็ตาม

และถึงแม้จะเห็นการดีดกลับของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ แต่ในความเป็นจริง

ดัชนีดอลลาร์มการปรับอ่อนค่ามาแล้วกว่า 9% นับตั้งแต่ที่ทำแข็งค่ามากสุดไว้ในดือนมี.ค. และเป็นปีที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 โดยมีสาเหตุมาจาก “กระแสคาดการณ์การคงดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ของเฟดที่จะเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี”


หลายๆตลาดเชื่อว่า

- ชัยชนะของนายไบเดน ตามโพลล์ต่างๆ และโอกาสที่เดโมแครตจะกลับมาครองเสียงข้างมาก
จะกดดันดอลลาร์ ท่ามกลางการเปิดกว้างต่อนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่

- ขณะที่การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตลอด 4 ปีนี้ของ “นายทรัมป์” อาจส่งผลกดดันต่อดอลลาร์น้อยกว่า และอาจทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกลายเป็น Safe-Haven ด้วยซ้ำจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน แต่ตลาดก็จะถูกกดดันจากปัจจัยลบในเรื่อง อัตราดอกเบี้ยแท้จริงอยู่ในระดับติดลบ


ผลสำรวจจาก Reuters สะท้อนว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาด ค่าเงินยูโรมีโอกาสแข็งค่าแตะ 1.21 ดอลลาร์/ยูโรในปีนี้ หรือปรับเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 4% จากระดับปัจจุบัน

และวันนี้เรานำหลายๆปัจจัยที่จะส่งผลต่อ “ทิศทางดอลลาร์ในระยะยาว” มาฝากนักลงทุน



ความแตกต่างเรื่องอัตราดอกเบี้ย

ในหลายปีมานี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด “มีนโยบายดอกเบี้ย” ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่อื่นๆ จึงถือเป็นปัจจัยที่หนุนให้ดอลลาร์มีความน่าดึงดูด ประกอบกับนักลงทุนมองหาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวลดลงในปีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ “เฟดตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย” เพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ที่ดูจะทำให้เฟดต้องมีการใช้ดอกเบี้ยต่ำสุดครั้งประวัติศาสตร์ในรอบหลายปี

นักวิเคราะห์จาก Societe Generale ระบุว่า แนวโน้มสำคัญของค่าเงินคือ Covid-19 ที่เป็นตัวฉุดให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ จึงถือเป็นผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์


อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (REAL YIELDS)

อัตราดอกเบี้ยแท้จริง หรือตัวชี้วัดเงินเฟ้อ อันเป็นส่วนหนึ่งของ “อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ” ที่มีการเคลื่อนไหวต่ำกว่าศูนย์ในปีนี้จากการระบาดของไวรัสโคโรนา และกดดันให้ดอลลาร์ไม่น่าดึงดูดใจ แต่กระตุ้นการเคลื่อนไหวในสินทรัพย์อื่นๆแทน เช่น “หุ้น” และ “ทองคำ”

ผลสำรวจจาก Reuters ในเดือนก.ย. แสดงให้เห็นว่า บรรดานักวิเคราะห์คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯจะปรับัตวขึ้นแตะ 0.93% ภายในช่วง 1 ปี หรือเป็นครึ่งหนึ่งของเงินเฟ้อ ที่สะท้อนว่าอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ระดับติดลบจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้

นักวิเคราะห์จาก BNP Paribas มองดอลลาร์เป็นขาลง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรแท้จริงจะมีแนวโน้มอยู่ในระดับติดลบต่อไป


สถานะการสำรองค่าเงินดอลลาร์

ตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายทรัมป์ มักจะส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าเป็นส่วนใหญ่ และทำให้เขาเกิดการตำหนิในประเด็นนี้ว่าเป็นการส่งผลให้เกิดความไม่ยุติธรรมทางการค้ากับประเทศคู่ค้าต่างๆ


และถึงแม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นทางการเงินได้มากกว่าที่คาด หากนายไบเดนได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มจะเห็นดอลลาร์อ่อนค่าอีก

นักวิเคราะห์บางส่วน เชื่อว่า พรรคเดโมแครตจะมีท่าทีในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศที่แข็งกร้าวน้อยกว่าทีมบริหารของนายทรัมป์ ซึ่งนี่อาจหนุนค่าเงินดอลลาร์ให้เกิดการสำรองค่าเงินเพิ่มมากขึ้น

นักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank ระบุว่า นายไบเดนไม่น่าจะส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่ามาก เนื่องจากนโยบายต่างๆของเขา รวมทั้งกรอบเวลาในการดำเนินการจะช่วยสนับสนุนสถานะของการสำรองค่าสกุลเงินดอลลาร์ด้วย


ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com