• ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นบริเวณคาบสมุทรเกาหลีเหนือได้ส่งผลให้นักลงทุนทำการลดสถานะการถือครองในค่าเงินหรือสินทรัพย์เสี่ยงลง โดยจะเห็นได้จากค่างินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง ขณะที่ค่าเงินสวิสฟรังก์และตราสารหนี้มีการปรับตัวขึ้น และค่าเงินดอลลาร์ก็มีการอ่อนค่าลงมาเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนกลับหาสินทรัพย์ปลอดภัย
ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอีก 0.3% ที่ระดับ 109.94 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดลงไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ 15 มิ.ย. ที่ระดับ 109.74 เยน/ดอลลาร์
• ผู้อำนวยการด้านอัตราแลกเปลี่ยนประจำ Societe Generale กล่าวว่า ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยนร่วงหลุดต่ำกว่า 110 เยน/ดอลลาร์ และมีแนวโน้มที่จะเริ่มลงไปทำ Bottom out จากภาวะตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้
• ค่าเงินปอนด์อังกฤษปรับอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร โดยนักลงทุนมีมุมมองเชิงลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของอังกฤษ หลังจากที่ค่าใช้จ่ายผู้บริโภคร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมาทำจุดต่ำสุดที่ระดับนับตั้งแต่ต.ค.ปี 2016 ที่ระดับ 90.87 เพนซ์ ก่อนที่จะค่อยๆปรับตัวขึ้นมา
อย่างไรก็ดี ภาพรวมของค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลงไปเกือบ 2% ในช่วง 3 วันทำการ หลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ หรือ BOE ยังมีท่าทีผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยต่ำกว่าระดับ 1.3 ปอนด์/ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา
• ทางอีซีบีดูเหมือนจะกลับมาพิจารณาโปรแกรมผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่ดัชนีมาตรวัดเงินเฟ้อ หรือ Core CPI จะปรับตัวขึ้นเกินคาดและแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีเมื่อเดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันภาพรวมของอัตราว่างงานก็ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009
• นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก FX Strategy จาก Commerzbank ระบุว่า การเจรจา Brexit ดูเหมือนจะยังไม่ได้เริ่มขึ้นและมีความชัดเจนมากเท่าไร่นัก จึงได้กดดันทิศทางเศรษฐกิจและค่าเงินในขณะนี้
• อัตราเงินเฟ้อจีนทรงตัวในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา จึงบ่งชี้สัญญาณเชิงบวกเกี่ยวกับการผลิตอุตสาหกรรมและผลกำไรประจำไตรมาสที่สาม แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามลดระดับหนี้แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าผลประกอบการจะชอลอตัวลง รวมถึงเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปีนี้
• สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผย ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวสูงขึ้น 5.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสอดคล้องกับนักวิเคราะห์จาก Reuter ที่คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตจะทรงตัวติดต่อกัน 3 เดือน ที่ระดับ 5.5%
• นักเศรษฐศาสตร์จาก ANZ คาดว่า ดัชนี PPI เมื่อเทียบรายปียังคงแข็งแกร่งอยู่ แม้ว่าจะถูกกดดันจากจำนวนเม็ดเงินลงทุนในประเทศที่ลดลง
• ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นที่ชะลอตัวลง แม้จะมีการขยายตัวของเศรษฐกิจก็ตาม
ทั้งนี้ ดัชนีผู้บริโภคประจำเดือนก.ค. ปรับตัวลดลงที่ระดับ 1.4% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งผิดจากที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ โดยถูกกดดันจากราคาอาหารที่ปรับลดลงที่ระดับ 1.1% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีผู้บริโภคจะยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.5%
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะลดลงมากกว่าที่คาด ขณะที่ตลาดยังคงไม่แน่ใจในความสามารถของกลุ่มโอเปกว่าจะทำได้ตามสัญญาหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องอุปทาน
น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 27 เซนต์ หรือคิดเป็น -0.5% ที่ระดับ 51.87 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง 21 เซนต์ หรือคิดเป็น -0.4% ที่ระดับ 48.96 เหรียญ/บาร์เรล
• รายงานจาก API ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลงเกินคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลดลง 7.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 478.4 ล้านบาร์เรล ท่ามกลางยอดนำเข้าที่ปรับตัวลดลงและปริมาณการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่สต็อกแก๊สโซลีนขยายตัวเกินคาด
อย่างไรก็ดี ตลาดรอคอยการประกาศข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯคืนนี้ เวลาประมาณ 21.00น.