· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ท่ามกลางความผ่อนคลายเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ประกอบกับถ้อยแถลงของประธานเฟดสาขานิวยอร์กที่แสดงความคิดเห็นในเชิงพึงพอใจต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีนี้ หากข้อมูลเศรษฐกิจขขยายตัวไปตามที่เขาคาดการณ์ไว้
ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงประมาณ 0.4% ที่ระดับ 110.04 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ลงไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 4 เดือนบริเวณ 108.72 เยน/ดอลลาร์เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
เช้านี้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้นบริเวณ 93.499 จุด หลังจากที่ปิดระดับ 93.1 จุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1790 ดอลลาร์/ยูโร
· นายนีล คาร์ชคาริ ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิส หนึ่งในสมาชิกเฟดที่มีความคิดเห็นเชิงผ่อนคลายทางการเงินที่ระบุว่า ค่าแรงและเงินเฟ้อควรปรับตัวขึ้นก่อนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น เขาเห็นควรว่าเฟดควรชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็นเงินเฟ้อกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ขณะเดียวกันสมาชิกเฟดในตอนนี้มีการตัดสินใจที่แตกต่างกัน เนื่องจากพวกเขาค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเงินเฟ้อ
· นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัดลัส กล่าวว่า ต้องการเห็นข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อการันตีว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นตามเป้าหมายของเฟด
· นายวิลเลียม ดัดเลย์ ประธานเฟด สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า สมาชิกเฟดส่วนใหญ่คาดหวังให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และเริ่มต้นปรับลดยอดงบดุลในพอร์ตของเฟด ซึ่งถ้อยแถลงของเขาได้กลับมาสร้างความไม่แน่นอนให้แก่ตลาดการเงินต่างๆอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี เขาพร้อมสนับสนุนให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากว่าข้อมูลเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
· ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและเกาหลีเหนือเริ่มผ่อนคลายลงเล็กน้อย หลังสำนักข่าวเกาหลีเหนือรายงานว่า รัฐบาลจะชะลอการพิจารณายิงขีปนาวุธไปยังเกาะกวม เพื่อจับตาดูการเคลื่อนไหวของสหรัฐฯต่อไปสักระยะหนึ่ง ขณะที่สหรัฐฯออกมาเตือนว่าจะทำการยิงสกัดขีปนาวุธใดๆมี่ยิงเข้าในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
· ราคาน้ำมันดิบคืนวันศุกร์ปิดปรับตัวสูงขึ้น เพราะได้รับแรงหนุนจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นได้น้อยลง จึงมีแนวโน้มว่ากิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันกำลังมีเสถียรภาพ โดยน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 23 เซนต์ หรือคิดเป็น +0.5% ที่ระดับ 48.82 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 1.5%
ด้านน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 20 เซนต์ หรือคิดเป็น +0.7% ที่ระดับ 52.10 เหรียญ/บาร์เรล โดยสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลงไปประมาณ 0.6%
· สำหรับเมื่อคืนนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่า 2.5% ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ผันผวน จากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่าและอุปสงค์ภายในประเทศจีนที่อ่อนแอจึงกดดันราคาน้ำมันดิบ ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ลิเบียจะกลับมาผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง จึงอาจส่งผลต่อภาวะอุปทานตลาดโลก
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 1.37 เหรียญ หรือคิดเป็น -2.63% ที่ระดับ 50.73 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 1.23 เหรียญ หรือคิดเป็น -2.52% ที่ระดับ 47.59 เหรียญ/บาร์เรล