· ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับขึ้น 30.27 จุด หรือคิดเป็น +0.14% ที่ระดับ 21,813.67 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +0.17% ที่ระดับ 2,443.05 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -0.09% ที่ระดับ 6,265.64 จุด
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังจากที่ประธานเฟดยังคงไม่ได้ให้สัญญาณใดๆเท่าที่ควรเกี่ยวกับแนวทางดำเนินนโยบายการเงิน และแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลง ขณะที่หุ้นกลุ่ม Telecommunications ปิด +0.8% และหุ้น Utilities ปิด +0.3%
· หัวหน้านักวิเคราะห์จาก TD Ameritrade กล่าวว่า ตลาดยังมีความกังวลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 2.2%
· ถ้อยแถลงของ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดในการประชุมธนาคารกลางประจำปี มุ่งเน้นไปยังเสถียรภาพทางการเงิน แต่มิได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงิน และแนวโน้มการปรับขี้นอัตราดอกเบี้ย
โดย ประธานเฟด กล่าวแต่เพียงว่า การปฏิรูปทางการเงินหลังเกิดวิกฤตทางการเงินในช่วงปี 2007-2009 ได้สร้างความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นต่อระบบการเงิน โดยปราศจากผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
· ถ้อยแถลงของ นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบี ให้สัญญาณชี้นำเพียงเล็กน้อยต่อการยุติการถือครองพันธบัตร รวมทั้งการประกาศเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการค้าทั่วโลก
· หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Payden&Rygel กล่าวว่า หากนายดรากี้และนางเยลเลน มีท่าทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้นก็จะส่งผลต่อความกังวลต่อบรรดานักลงทุน แต่ความกังวลดังกล่าวก็ดูจะเลือนหายไป เนื่องจากประธานธนาคารทั้งสอง ไม่ได้สร้างเซอร์ไพร์สใดเกี่ยวกับการคุมเข้มทางการเงิน
· ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ยังถูกดดันอยู่ในเช้านี้ หลังจากที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นจากถ้อยถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทางด้านตลาดน้ำมันได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคน ฮาเวย์
เช้านี้ดัชนีนิกเกอิเปิด -0.04% และดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -0.25% เพราะได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่กดดันตลาด
· นักบริหารเงิน ประเมินกรอบ การเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ที่ระดับ 33.20-33.50 บาท/ดอลลาร์ โดยต้องติดตามการตอบรับของตลาดในช่วงต้นสัปดาห์ต่อสัญญาณจากการประจำปีของเฟดที่แจ็คสัน โฮล รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนี PMI ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย ข้อมูลรายได้/การใช้จ่ายส่วนบุคคล เดือนก.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนมิ.ย. และตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 2/2560 (ประกาศครั้งที่ 2) นอกจากนี้ นักลงทุนอาจมีจุดสนใจเพิ่มเติมที่ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของประเทศชั้นนำอื่นๆ ด้วยเช่นกัน