• ตลาดจับตาประชุมอีซีบีคืนนี้! – 7 ก.ย. 60

    7 กันยายน 2560 | Economic News


บรรดาสมาชิกอีซีบีถูกคาดการณ์เป็นวงกว้างว่าการประชุมในช่วงค่ำวันนี้ อีซีบีน่าจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ปรับลดนโยบายการเข้าซื้อพันธบัตรในเร็วๆนี้ ขณะที่การแข็งค่าค่อนข้างมากของค่าเงินยูโรอาจสร้างความซับซ้อนในการที่อีซีบีจะก้าวออกจากนโยบายการเงินของตนเอง ซึ่งการแข็งค่าของค่าเงินยูโรได้ส่งผลบางส่วนต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยปริมาณการนำเข้าสินค้าที่มีหน่วยเป็นค่าเงินดอลลาร์ได้ถูกลง แต่การส่งออกสินค้ากับปรับตัวลดลง ซึ่งการแข็งค่าของค่าเงินยูโรดังกล่าวได้ทำให้ผลประกอบการภาคบริษัทปรับตัวลดลงด้วย


ดังนั้น การที่อีซีบีจะระบุถึงค่าเงินยูโรที่จะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจอาจสร้างความผันผวนครั้งใหญ่ให้แก่ตลาดในวันนี้ได้


สิ่งที่ตลาดรอคอยจากการประชุมอีซีบีและถ้อยแถลงของ นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบี มีดังนี้


1. การแข็งค่าของค่าเงินยูโร

ค่าเงินยูโรปีนี้แข็งค่าขึ้นแล้วกว่า 13% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 14 ปี จึงเป็นปัจจัยหลักที่นักลงทุนให้ความสำคัญและเฝ้ารอ


ค่าเงินยูโรอยู่ในระดับต่ำนับตั้งแต่ที่ประธานอีซีบีให้คำมั่นว่าจะปกป้องยูโรโซน แต่การที่ปรับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วก็กลายเป็นปัญหาต่ออีซีบีที่


สิ่งแรกคือ ค่าเงินยูโรเข้ากดดันการค้า จากค่าเงินยูโรที่ปรับขึ้นเกือบ 6% ในช่วง 5 เดือนนี้เป็นอย่างน้อย และการแข็งค่าล่าสุดได้สร้างอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในยูโรโซน

แหล่งข่าวระบุกับสำนักข่าวรอยเตอร์สในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การแข็งค่าของค่าเงินยูโรอาจะทำให้อีซีบีชะลอแผนการปรับลดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และประธานอีซีบีก็อาจพูดถึงประเด็นดังกล่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมคืนนี้


2. ถ้อยแถลงนโยบาย

จะเห็นได้ว่าในการประชุมอีซีบีเมื่อ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา อีซีบีมีการหยิบประเด็นการแข็งค่าของค่าเงินเข้ามา จึงทำให้ตลาดจับตาดูว่าผลกระทบของค่าเงินจะมีความเป็นทางการมากขึ้นหรือไม่หลังเสร็จสิ้นการประชุมในวาระนี้


ผู้จัดการการลงทุนประจำ Mediolanum Asset Management แสดงความคิดเห็นว่า อีซีบีน่าจะมีท่าทีระมัดระวังและไม่ทำการเปลี่ยนแปลงนโยบายหลักใดๆ เนื่องจากพวกเขามีความกังวลต่ออัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง


3. คาดการณ์ของสมาชิกอีซีบี

การปรับทบทวน Economic Projections ของสมาชิกอีซีบี อาจเกิดขึ้นจากการแข็งค่าของค่าเงินยูโรเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เจ้าหน้าที่หลายรายให้ความสนใจ


ตลาดมีการคาดการณ์ว่า อีซีบีน่าจะมีการปรับทบทวนคาดการ์เงินเฟ้อ (Core Inflation) แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะมีมุมมองว่า คาดการณ์ของอีซีบีในระยะยาวอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และอาจไม่ส่งผลกระทบหรือขัดขวางแผนการปรับลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ของอีซีบีในปีหน้า


อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อของประเทศสมาชิกยูโรโซนทั้ง 19 ประเทศยังคงต่ำกว่าระดับ 2% โดยมีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 1.5% ในเดือนส.ค. จากระดับ 1.3% ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่ระดับ 1.5% และปีหน้าอยู่ที่ระดับ 1.3%


4. การปรับลดนโยบาย

ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ให้เห็นว่า ตลาดลดกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับอีซีบีเกี่ยวกับการปรับลดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในเดือนต.ค.นี้ มากกว่าที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้


นักเศรษฐศาสตร์จาก Pictet Wealth Management คาดการณ์ว่า อีซีบีน่าจะวางรากฐานการตัดสินใจดังกล่าวในช่วงสิ้นปี เพื่อพยายามศึกษาทางเลือกของนโยบายทั้งหมดที่จะใช้ในปี 2015


5. การเข้าซื้อพันธบัตร

อีซีบีอาจเกิดคำถามเกี่ยวกับการขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นของการเข้าซื้อพันธบัตรที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้อีซีบีตัดสินใจที่จะทำการประกาศลดการเข้าซื้อพันธบัตรในเร็วๆนี้ มากกว่าจะปล่อยไว้ให้เนิ่นนานเกินไป


การเข้าซื้อพันธบัตรของเยอรมนีที่ลดน้อยลงในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดือนที่เริ่มต้นโปรแกรมการเข้าซื้อดังกล่าว บ่งชี้ว่า การลดการเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะหนี้

ทางด้านอีซีบีเริ่มมีการจำกัดการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง และนักลงทุนในตลาดพันธบัตรกำลังมองหาการเปลี่ยนแปลงใดๆที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ของอีซีบี ไม่ว่าจะเป็นการเดินหน้าซื้อต่อเนื่องหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆที่จะส่งผลต่อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้


นักกลยุทธ์การลงทุนตลาดโลกจาก JP Morgan Asset Management กล่าว่ว่า โดยทั่วไปมีมุมมองว่าอีซีบีจะทำการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด โดยจำนวนการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ระดับ 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน ประกอบไปด้วย การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ ดังนั้น หากเกิดการปรับลดการเข้าซื้อก็น่าจะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทเช่นกัน


6. การสื่อความของตลาด

การตอบรับของตลาดอาจเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง


ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเดือนพ.ค. แต่ในตอนนี้ดัชนี pan-European STOXX600 กลับร่วงลงประมาณ 6% จากตอนนั้น เช่นเดียวกับหุ้นในภูมิภาคยูโรโซน โดยนักลงทุนตำหนิว่าเป็นผลกระทบมาจากการแข็งค่าของค่าเงินยูโรที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาข้างต้น


อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า หุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปจะได้รับอานิสงส์จากการแนวทางการคุมเข้มนโญบายการเงิน ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ส่งผลต่ออัตราเงินหลักประกันขั้นต้น ซึ่งภาคธนาคารถือเป็นปัจจัยหลักของตลาดการเงินโดยทั่วไป


ประมาณการณ์จาก Societe Generale กล่าวว่า หากว่าอีซีบีเริ่มต้นปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ก็มีโอกาสเห็นตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางหุ้นกลุ่มบริษัทในดัชนี pan-European ที่น่าจะมีผลกำไรปรับตัวเกินกว่าครึ่งหนึ่งทั่วยูโรโซน

ที่มา: Reuters


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com