· ล่าสุดรายงานอย่างเป็นทางการของเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ระบุว่า เกาหลีเหนือมีการยิงมิสไซน์ข้ามผ่านทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก จึงจุดประกายความตึงเครียดให้ปะทุอีกครั้ง หลังจากที่เกาหลีเหนือเพิ่งได้ทำการทดสอบนิวเคลียร์ที่ทรงอานุภาพเป็นอย่างมากเมื่อไม่นานมานี้
· รายงานจาก CNBC แสดงให้เห็นว่า เกาหลีเหนือทำการยิงขีปนาวุธออกจากกรุงเปียงยางในช่วงเวลา 06.57น. ตามเวลาท้องถิ่นของเกาหลีเหนือในวันนี้ หรือเช้ามืดประมาณตี 4 บ้านเรา ซึ่งเป็นการยิงข้ามผ่านน่านฟ้าประเทศญี่ปุ่นและตกลงในทะเลช่วงเวลาประมาณตี 5 ของไทย โดยประมาณการณ์ระยะทางได้ 2,000 กิโลเมตร หรือ 1,240 ไมล์
· รายงานจาก NBC News ระบุว่า เกาหลีใต้มีการเตรียมฝึกซ้อมการยิงขีปนาวุธพิสัยของตนเอง หลังจากที่เกาหลีเหนือทำการยิงขีปนาวุธล่าสุดในเช้าวันนี้ โดยจะเป็นการฝึกซ้อมในการกำหนดระยะทางไปยังเขตพื้นที่ของเกาหลีเหนือ
· องค์การสหประชาชาติ หรือ U.N. จะทำการหารือกันในวันนี้เวลาประมาณตี 2 ตามเวลาไทยเกี่ยวกับกรณีทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯและญี่ปุ่น
· เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ กล่าวย้ำว่า พวกเขาจะไม่ใช้กำลังทางทหารกับทางเกาหลีเหนือ แม้ว่านายทรัมป์ จะเปิดโอกาสในการต่อสู้ด้วยยุทธวิธีดังกล่าวก็ตาม
· เช้านี้ค่าเงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและค่าเงินสวิสฟรังก์ หลังทราบรายงานการยิงขีปนาวุธในเช้านี้ก่อนจะดีดกลับมาทรงตัว
ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าลงสู่ระดับ 109.55 เยน/ดอลลาร์ในเช้าวันนี้ ก่อนจะดีดกลับขึ้นมาทรงตัวบริเวณ 110.05 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินสวิสฟรังก์แข็งค่าลงไปประมาณ 0.2% แถวระดับ 0.921 ฟรังก์ ขณะที่ดัชนีดอลลาร์เช้านี้ทรงตัว 92.13 จุด
· กรรมการผู้จัดการและหัวหน้านักวิเคราะห์ตลาดโลกของ Citi bank กล่าวว่า ปัญหาความตึงเครียดทางทหารที่ปะทุขึ้นบริเวณคาบสมุทรเกาหลีเหนืออาจทำลายเสถียรภาพและมีความเป็นไปได้ที่จะนำเราไปสู่สงครามโลกได้ ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถวัดหรือจำลองความเสี่ยงของเกาหลีเหนือจากสงครามทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้
· ผลการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค. ออกมาดีขึ้นกว่าที่คาดสู่ระดับ 0.4% จึงส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนคาดการณ์กันว่า เฟดน่าจะมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกจำนวน 1 ครั้งในปีนี้
· รายงานจากรอยเตอร์ ระบุว่า บรรดาเทรดเดอร์เริ่มกลับมามีมุมมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมระหว่าง 12-13 ธ.ค. โดยเครื่องมือ FedWatch ของ CME Group ล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าเฟดน่าจะมีโอกาส 52% ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสู่ระดับ 1.00 – 1.25% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 42% ก่อนทราบข้อมูล CPI
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯออกมาดีขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 284,000 ราย หรือปรับลดลงประมาณ 14,000 ราย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลล่าสุดยังคงได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์และเออร์มา จึงยังเป็นการยากที่จะหาความชัดเจนของทิศทางตลาดแรงงาน
· สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯมีมติผ่านร่างบประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญ เพื่อสนับสนุนโครงการของภาครัฐสำหรับงบประมาณประจำปีที่จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ต.ค. แม้ว่าจะตระหนักดีว่าอาจไม่ผ่านมติเห็นชอบทางทางวุฒิสภาที่อาจมีข้อขัดแย้งต่อองค์ประกอบและการเจรจาที่อาจยืดเยื้อไปจนถึงเดือนธ.ค.ได้
โดยรายละเอียดที่ทางสมาชิกาสภาผู้แทนราษฎรผ่านมติด้วยคะแนนเสียง 211 – 198 ซึ่งเสียงส่วนใหญ่มาจากสมาชิกพรรครีพับลิกันผู้ครองเสียงข้างมากในสภาดังกล่าว ซึ่งจากงบประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญ จะแบ่งเป็น 6.581 แสนล้านเหรียญให้กับกระทรวงมหาดไทย และ 4.43 หมื่นล้านเหรียญให้แก่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ และอีก 1.6 พันล้านเหรียญสำหรับก่อสร้างรวมไปถึงกำแพงพรมแดนสหรัฐฯ-เม็กซิกัน
· การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% แต่มีการระบุถึงการจะปรับลดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จึงส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ปรับแข็งค่าขึ้นบริเวณ 1.3406 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.32 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนทราบผลประชุม
· ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 56 เซนต์ หรือคิดเป็น +1% ที่ระดับ 55.72 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ขึ้นไปทำระดับสูงสุดบริเวณ 55.99 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน นับตั้งแต่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยภาพทางเทคนิคของสัญญาน้ำมันดิบ Brent ยังคงมีสัญญาณ Overbought ติดต่อกันเป็นวันที่ 2
ด้านน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 84 เซนต์ หรือคิดเป็น +1.7% ที่ระดับ 50.14 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ยืนเหนือ 50 เหรียญ/บาร์เรลได้ตั้งแต่เดือนส.ค. ประกอบกับเมื่อคืนนี้ทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 25 พ.ค.บริเวณ 50.50 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นการยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน
โดยภาพรวมตลาดน้ำมันยังได้รับแรงหนุนจากรายงานของ IEA ที่คาดว่าจะตึงตัวรวมทั้งปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบจะเพิ่มสูงขึ้น