• ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่เฝ้ารอผลการประชุมเฟดคืนนี้ ซึ่งคาดว่าเฟดจะประกาศการปรับลดพอร์ตงบดุลมูลค่ารวมกว่า 4.2 ล้านล้านเหรียญลง โดยดัชนีดอลลาร์ปรับลดลง 0.1% ที่ระดับ 91.739 จุด เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ซึ่งยังคงสามารถยืนเหนือระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่ระดับ 91.011 ได้
สำหรับด้านค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนปรับอ่อนค่าลง 0.1% ที่ระดับ 111.45 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ที่ระดับ 111.88 เยน/ดอลลาร์
ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ระดับ 1.2007 ยูโร/ดอลลาร์
• นักกลยุทธ์บางส่วนมองว่า ตลาดอาจตื่นตัวและเกิดความผันผวนในช่วงที่เฟดกล่าวถ้อยแถลงหลังเสร็จสิ้นประชุมในช่วงเวลาประมาณ 01.00น. (ตามเวลาไทย) ขณะที่ นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด จะกล่าวถ้อยแถลงในช่วงเวลาประมาณ 01.30น. (ตามเวลาไทย)
แม้จะมีโอกาสเห็นตลาดไม่ตอบรับต่อถ้อยแถลง แต่นักวิเคราะห์พันธบัตรบางส่วน กล่าวว่า การประกาศปรับลดยอดงบดุลอาจฉุดให้ตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ขึ้นอยู่กับท่าทีของเฟดและคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
รายงานจาก CNBC ระบุว่า การประชุมเฟดวาระนี้ถูกคาดการณ่าจเฟดจะประกาศการเริ่มต้นถอนลดพันธบัตรที่เคยซื้อไว้ในช่วงดำเนินนโยบาย QE ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือนในช่วงเกิดวิกฤตทางการเงินเพื่อปกป้องเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยขณะนี้เฟดมีสินทรัพย์ทั้งหมดมูลค่า 4.5 ล้านล้านเหรียญ จึงอาจทำให้เฟดพิจารณาขั้นต่อไปในการดำเนินมาตรการ ซึ่งจะเป็นการขายคืนพันธบัตรเข้าสู่ตลาดพันธบัตรนั่นเอง
• รายงานจาก Forbes News ระบุว่า การตัดสินใจของเฟดในวันนี้ จะคำนึงถึงแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ท่ามกลางท่าทีของกลุ่มนักลงทุนที่เริ่มมีมุมมองต่อมาตรการทางการเงินและการขยายตัวที่ร้อนแรงของเศรษฐกิจ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าอาจจะไม่ได้ดีมากเท่าที่ควร
อันจะเห็นได้จากการเริ่มปรับนโยบายดอกเบี้ยของเฟดให้กลับสู่ภาวะ “ปกติ” ในช่วงเดือนธ.ค. ปี 2015 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีเสถียรภาพ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้นได้อย่างช้าๆ ท่ามกลางตลาดหุ้นสหรัฐฯในตอนนั้นที่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงทำให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในช่วงปลายปีดังกล่าว และมีคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นได้อีก 4 ครั้งในปี 2016
• ผลสำรวจของ World Economic Forum ระบุว่า การว่างงานเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจทั่วโลก โดยผลสำรวจความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้บริหารของบริษัทส่วนใหญ่ คาดว่า การว่างงานหรือการทำงานต่ำระดับอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในอีก 10 ปีข้างหน้า จากวิกฤตการณ์ทางการเงินและความล้มเหลวของการปกครองประเทศ
• ผลสำรวจโดยสำนักสถิติการจ้างงานอังกฤษ พบว่า บรรดานายจ้างในประเทศอังกฤษมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่การลงประชามติโหวต Brexit ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านการจ้างงานและการลงทุนยังคงทรงตัวในเดือนนี้
• นางอังเกลาร์ แมร์เคล มีแนวโน้มจะได้รับชัยชนะการเลือกตั้งและเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีสมัยที่ 4 ในศึกการเลือกตั้งวันอาทิตย์นี้ แต่กลุ่มผู้นำภาคธุรกิจกล่าวเตือนเธอว่า รัฐบาลที่จะมาดำรงตำแหน่งในวาระนี้ควรมีนโยบายเป็นมิตกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเยอรมนีจะยังคงเป็นประเทศเศรษฐกิจมหาอำนาจของยูโรโซน
โดยผลสำรวจการเลือกล่าสุดจากสำนักข่าว Frankfurter Allgemeine Zeitung ชี้ให้เห็นว่า พรรค CDU ของเธอ และพรรคพันธมิตร CSU โดยทั้ง CDU-CSU ยังคงมีคะแนนนำที่ 36.5% ขณะที่พรรคคู่แข่งอย่าง SPD ยังคงมีคะแนนตามมาที่ 22% ขณะที่พรรคต่อต้านผู้อพยพหรือ AfD มีคะแนนนิยมอยู่ที่ 10% และ FDP อยู่ที่ 11% ขณะที่พรรค Greens รั้งท้ายที่ 8%
• ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น หลังรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งอิรักและผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆในกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มที่จะพิจารณาขยายระยะเวลาของมาตรการปรับลดกำลังการผลิต หรืออาจลดเพดานปริมาณการผลิตน้ำมันลงอีก ขณะที่รายงานจากสหรัฐฯพบว่าปริมาณน้ำมันคงคลังปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์
โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 49.78 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 55.37 เหรียญ/บาร์เรล