· อดีตประธานบริหาร Morgan Stanley Asia กล่าวว่า ราคาหุ้นในตลาดดูเหมือนจะมีราคาที่แพงเกินไปและอาจไม่พร้อมรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตลาดหุ้นดูเหมือนจะอ่อนตัวและอยู่ในทิศทางที่ไม่ดีอย่างที่เคยฟื้นตัวในช่วงกว่า 8 ปีครึ่ง
ทั้งนี้ ตลาดอยู่ในสภาวะทรงตัว และทำให้ตระหนักถึงช่วงก่อนเกิดวิกฤตในปี 2003 จนถึงต้นปี 2007 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบทเรียนที่พวกเราควรตระหนักจาก
· ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีและภาพรวมรายสัปดาห์ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องดีที่สุดในปีนี้
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น 0.4% แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ยังคงปรับตัวลดลง 1.7%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่ผลประกอบการรายเดือนปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนกลับมาถือครองสถานะเพิ่มขึ้นหลังจากความวิตกกังวลทางการเมืองในช่วงต้นเดือนที่เบาบางลงไป
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ปิด-0.3% ที่ระดับ 20,356.28 จุด
· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและข้อมูลผู้บริโภคที่ดีขึ้น ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่จะกลับมาใช้จ่ายครั้งใหญ่ในช่วงวันหยุดยาวตลอดสัปดาห์ของจีนเนื่องในวันชาติ
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ปิด+0.3% ที่ระดับ 3,348.94 จุด
· ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวสูงขึ้น แต่ภาพรวมรายเดือนของดัชนีจะปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแรงผลักดันของตลาดที่อาจชะลอตัวลงท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ทั้งนี้ ดัชนี Hang Seng ปิด+0.5% ที่ระดับ 27,554.30 จุด
· นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนส.ค.60 อยู่ที่ 112.94 ขยายตัว 3.74% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) และเพิ่มขึ้น 3.77% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 8 เดือน ขยายตัว 1% ส่งสัญญาณถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย เช่นเดียวกันกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำแท่ง) ที่ขยายตัวถึง 8.50% รวมถึงการนำเข้าสินค้าทุนที่ขยายตัว 6.10% และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำแท่ง) ที่ขยายตัวถึง 9.20%
· ธปท. ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค.60 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการส่งออกและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากรายจ่ายประจำ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตเพื่อส่งออกและเพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่โดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานที่ปรับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามรายรับจากภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยว