· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ลดการถือครองสถานะก่อนทราบรายงานข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลภาคบริการสหรัฐฯจะออกมาแข็งแกร่ง
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.7% ที่ระดับ 93.479 จุด หลังจากที่ช่วงต้นตลาดลงไปทำระดับต่ำสุดบริเวณ 93.259 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนเช้านี้ทรงตัวบริเวณ 112.85 เยน/ดอลลาร์ และค่าเงินยูโรอยู่ที่ 1.17547 ดอลลาร์/ยูโร
· สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เผยว่า ดัชนีผู้จัดการภาคบริการสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ส.ค. ปี 2005 ในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.พ. ปี 2012
· ขณะข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนมีการจ้างงานเพียง 135,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. หรือลดลงประมาณ 93,000 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเหล่านักเศรษฐศาสตร์คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ และเออมาร์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลกระทบเพียงระยะสั้น
· ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ประกอบกับแผนการปรับลดภาษี มีแนวโน้มจะส่งผลให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเดือนธ.ค.นี้ได้ และจะเป็นปัจจัยที่หนุนค่าเงินดอลลาร์ในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้
อย่างไรก็ดี เหล่าเทรดเดอร์ต่างมีท่าทีระมัดระวังในการซื้อขายค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลที่ว่า พายุเฮอริเคนเมื่อไม่นานมานี้อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลการจ้างงานได้
· เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group มองโอกาส 83% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. โดยสูงขึ้นกว่าระดับเดิมเมื่อวันอังคารที่ระดับ 78%
· นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด กล่าวว่า เฟดมีการดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ากฎระเบียบของภาคธนาคารนั้นมีขนาดที่เหมาะสม โดยการสื่อสารใดๆกับบรรดาธนาคารเพื่อเหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการดำเนินทางธุรกิจที่จะนำไปสู่วิกฤตทางการเงิน ทางเฟดเองต้องมั่นใจว่าข้อกำหนดและกฎเกณฑ์โดยส่วนใหญ่มีการปรับปรุงให้เหมาะสมนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตและไม่เป็นภาระเกินไป
ทั้งนี้ รายงานจาก Bloomberg ระบุว่า นางเยลเลนไม่ได้ระบุถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือเศรษฐกิจ
· ส.ส.พรรครีพับลิกันให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ส โดยระบุว่า การผลักดันนโยบายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดรายได้ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจทำให้นโยบายดังกล่าวถูกยกเลิกได้ หากไม่มีมาตรการใดเข้ามารองรับ
· ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงหลังจากที่ยอดส่งออกน้ำมันดิบในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 2 ล้านบาร์เรล/วัน จึงจุดประกายภาวะความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบโลก ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงต่อ แม้ว่ายอดส่งออกน้ำมันจะสูงถึง 1.98 ล้านบาร์เรล/วัน
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 44 เซนต์ ที่ระดับ 49.98 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 20 เซนต์ ที่ระดับ 55.8 เหรียญ/บาร์เรล