ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเคลื่อนไหวสลับไปมาระหว่างช่วงที่เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และช่วงที่ชะลอตัวลงแต่ยังสามารถเติบโตได้ หลังจากที่เศรษฐกิจโลกได้อยู่ในช่วงของการขยายตัวมามากกว่า 1 ปีแล้ว ทิศทางต่อไปของเศรษฐกิจโลก จะเป็นการชะลอตัวหรือจะขยายตัวได้ต่อกันแน่?
หากจะพิจารณาปัจจัยที่จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจโลกเติบโตต่อไป ก็ต้องคอยจับตาดูการดำเนินงานปฏิรูปประเทศของรัฐบาลจีน, ญี่ปุ่น รวมถึงยูโรโซน และสหรัฐฯ เนื่องจาก การปฏิรูปโครงสร้างในประเทศ หากดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นจะช่วยหนุนโอกาสให้เศรษฐกิจในประเทศสามารถเติบโตต่อไปได้ รวมถึงรัฐบาลยังสามารถรับรู้จุดบกพร่องทางการเงินของประเทศได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ตัวเลข GDP ของประเทศขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง รวมถึงอัตราเงินเงินเฟ้อที่จะขยายตัวได้อย่างช้าๆแต่มั่นคงและเสถียรภาพของเศรษฐกิจที่จะคงอยู่ต่อไปอีกหลายปี
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่น่าเป็นห่วงและอาจฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจโลก คือการที่บรรดารัฐบาลของประเทศที่ยกมาข้างต้น ประสบความล้มเหลวในการปฏิรูปโครงสร้างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
1) หากรัฐบาลจีนล้มเหลวในการใช้การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อเป็นชนวนในการปฏิรูปโครงสร้างและยังคงดำเนินเศรษฐกิจต่อไปในสถาวะตลาดที่อิ่มตัว
2) หากเศรษฐกิจของยูโรโซนประสบความล้มเหลวในการประสานความร่วมมือกันของแต่ละประเทศในทวีปยุโรป และความแตกต่างของแต่ละประเทศยังคงเป็นปัจจัยกีดกันไม่ให้สหภาพยุโรปสามารถผลักดันนโยบายปฏิรูปใหม่ๆออกมาได้
3) หากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ และการปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงอุปทานของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ประสบความล้มเหลว
4) หากทีมบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงพยายามผลักดันนโยบายปฏิรูปภาษีที่เป็นการช่วยผู้มีฐานะร่ำรวย รวมไปถึงนโยบายเชิงกีดกันการค้าและการจำกัดผู้อพยพเข้าประเทศของเขา จะกลายเป็นการปิดกั้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯเสียเอง ขณะที่นโยบายกระตุ้นการเงินของรัฐบาล จะนำไปสู่การขาดดุลการค้าและระดับหนี้ของประเทศที่สูงขึ้น และส่งผลให้เฟดต้องตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ
นอกจากนี้ กรณีความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและเกาหลีเหนือ รวมถึงความขัดแย้งกับอิหร่าน ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจนำเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ขาลงได้