• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

    15 พฤศจิกายน 2560 | Economic News



·         อัตราผลตอนแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 2 ปียังคงทำระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีบริเวณ 1.7จากระดับ 1.687% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลลงจากภาวะ Curve Flattening ติดต่อกัน 2 วันทำการ ประกอบกับนักลงทุนที่ต่างคาดหวังว่าเฟดจะดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีอยู่ที่ระดับ 2.378ร่วงลงจากระดับ 2.4และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับลงมาที่ระดับ 2.841จากระดับ 2.869ในวันจันทร์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี ภาวะ Curve Flattening ที่เกิดขึ้น บ่งชี้ถึงภาวะที่เฟดจะดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นนั้นปิดสูงกว่า ท่ามกลางเงินเฟ้อในระดับต่ำที่เป็นปัจจัยจำกัดการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธัตรระยะยาว

·         ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่งเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ โดยถือเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน หลังข้อมูลเศรษฐกิจของเยอรมนีสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3/2017 โดยยจีดีพีเยอรมนีปรับตัวขึ้นได้ 0.8% ขณะที่สถาบัน ZEW ของยุโรปชี้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีมีแนวโน้มจะขยายตัวต่อในเดือนพ.ย. และสัญญาณทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในทิศทางเชิงบวก

ค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้น 1.11ที่ระดับ 1.1794 ดอลลาร์/ยูโร โดยถือเป็นระดับการขยายตัวรายวันที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์นับตั้งแต่ 27 มิ.ย.

ดัชนีดอลลาร์อ่อนตัวลง 0.7% ที่ระดับ 93.828 จุด โดยค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหลังทราบข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ขยายตัวเกินคาดในเดือนต.ค.

·         ขณะที่นักลงทุนให้ความสนใจกับข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในค่ำคืนนี้ แม้ว่าเฟดจะถูกคาดการณ์ว่าจะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้าก็ตาม

·         ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ประจำเดือนตุลาคม ประกาศออกมาขยายตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 0.4% ท่ามกลางแรงหนุนจากค่าบริการที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตรายปีปรับสูงขึ้นสู่ระดับ 2.8% เทียบกับระดับ 2.6% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา จึงเป็นการส่งสัญญาณว่าราคาผู้ผลิตสหรัฐฯยังสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง กระแสคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนธันวาคมจึงยังคงอยู่ในระดับสูง


·         บรรดาประธานธนาคารรายใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น เฟด, อีซีบี, บีโออี และบีโอเจ ยังคงให้สัญญาที่จะคงสัญญาณชี้นำนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายในอนาคต เนื่องจากสัญญาณชี้นำในอนาคตกลายมาเป็นหนึ่งในวิธีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเต็มตัว ซึ่งพวกเขาต่างจะดำเนินการถอนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปนับตั้งแต่ที่ได้ใช้ในช่วงวิกฤตทางการเงิน

อย่างไรก็ดี นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบีและประธานธนาคารกลางอีก 3 แห่งยังคงมีวิธีการที่แตกต่างกันในการถอนนโยบายทางการเงิน โดยเฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจำนวน 5 ครั้ง ขณะที่บีโออีเพิ่งจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปในการประชุมเดือนนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่ทางอีซีบีจะค่อยๆปรับลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน และบีโอเจที่ยังคงจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ แต่ถ้อยแถลงโดยภาพรวมของประธานธนาคารรายใหญ่ทั้ง 4 ไม่มีแนวโน้มที่ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม


·         เมื่อคืนนี้ นายมิทช์ แมคคอนเนล หัวหน้าสมาชิกวุฒิสภาพรรครีพับลิกันแห่งสหรัฐฯ ประกาศจะยกเลิกการบังคับให้ประชาชนทุกคนมีประกันสุขภาพ (Individual Mandate) ที่เป็นหัวใจสำคัญของนโยบายโอบามาแคร์ โดยจะยกเลิกผ่านนโยบายปฏิรูปภาษี จึงเป็นเชื่อมโยงทั้งสองนโยบายเข้าด้วยกัน และได้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางการเมืองครั้งใหม่ขึ้น ท่ามกลางความกังวลจากตลาดเกี่ยวกับความคืบหน้าของนโยบายภาษี

หลังจากที่นายมิทช์ได้ออกมากล่าวถ้อยแถลงดังกล่าว พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่าแนวคิดดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อสหรัฐฯอย่างแน่นอน แต่ก็ยังคงสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพรรคเดโมแครตเป็นอย่างมาก ขณะที่สมาชิกวุฒิสภารีพับลิกันเองก็ยังมีความกังวลอยู่เช่นกั


·         นายมิทช์ แมคคอนเนล หัวหน้าสมาชิกวุฒิสภาพรรครีพับลิกันแห่งสหรัฐฯ ประกาศจะขอความร่วมมือกับทางทำเนียบขาวเพื่อต่อต้านไม่ให้นายรอย มอเรย์ วุฒิสมาชิกรีพับลิกันได้มีที่นั่งภายในรัฐสภา ภายหลังจากข่าวฉาวที่นายมอเรย์ได้มีการล่วงละเมิดทางเพศกับหญิงสาวจำนวน 5 คน


·         สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวจากข้อมูลการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ร่วงลงในไตรมาสที่ 3 แต่ภาพรวมปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังคงมีความแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นรายปีขยายตัวได้ 1.4% ในช่วงระหว่าง ก.ค. – ก.ย. จากยอดส่งออกที่แข็งแกร่ง และยืนเหนือประมาณการณ์ 1.3ได้ แต่การชะลอตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภคถูกคาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นชะลอตัวลงชั่วคราว ขณะที่ภาวะการจ้างงานก็ใกล้เต็มรูปแบบ อาจช่วยหนุนการอุปโภคบริโภคภายในประเทศในอนาคตนี้ได้


·         ราคาน้ำมันดิบปิดลดลง 2% โดยเป็นระดับการปิดปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าผลผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้น ประกอบกับรายงานของ IEA ที่ชี้ว่าภาวะการขยายตัวของอุปสงค์อยู่ในทิศทางที่ไม่ค่อยสดใสนัก

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 1.24 เหรียญ หรือคิดเป็น -2% ที่ระดับ 61.92 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 1.16 เหรียญ หรือคิดเป็น -2% เช่นกัน ที่ระดับ 55.60 เหรียญ/บาร์เรล 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com