
CNBC ชี้ว่า รายงานดัชนีมาตรวัดเงินเฟ้อขยายตัวทำระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในเดือนธ.ค. ท่ามกลางความแข็งแกร่งของค่าเช่าที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ จึงช่วยหนุนให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าอาจจะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นได้ในปีนี้
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core CPI) ที่ไม่รวมความผันผวนด้านอาหารและพลังงานขยายตัวได้เกินคาดแตะระดับ 0.3% ท่ามกลางราคายอดขายรถยนต์มือหนึ่งที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการทำประกันการใช้รถยนต์ รถบรรทุก และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น
ผลสำรวจจาก Reuters แสดงให้เห็นว่า Core CPI ขยายตัวได้มากที่สุดนับตั้งแต่ม.ค. ปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 0.1% ในเดือนพ.ย. ทำให้ภาพรวมในอีก 12 เดือนข้างหน้าCore CPI น่าจะขยายตัวได้ 1.8% ในเดือนธ.ค.ปีนี้ เพิ่มจากระดับ 1.7% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพ.ย. พร้อมคาดว่าดัชนี Core CPI จะขยายตัวได้ 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน โดยทรงตัวระดับรายปีบริเวณ 1.7%
ขณะที่ความอ่อนแอของยอดการนำเข้าและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในสัปดาห์นี้กลับยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับทิศทางของเงินเฟ้อ แม้ว่ารายงานดังกล่าวดูจะไม่สอดคล้องกับทิศทางที่แข็งแกร่งของข้อมูล CPI
อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ แสดงความคาดหวังว่า ข้อมูลความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ควบคู่กับการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เงินเฟ้อของเฟดแตะระดับเป้าหมาย 2% ในปีนี้
รายงานจาก Financial Times ระบุว่า สมาชิกเฟดหลายราย ยังคงกล่าวย้ำโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 3 ครั้งในปีนี้ แต่นักวิเคราะห์หลายรายกลับมองว่าเฟดมีโอกาสปรับขึ้นได้จำนวน 4 ครั้ง จากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและแรงหนุนระยะสั้นจากการปรับลดภาษีของหรัฐฯ แม้ว่าประธานเฟดสาขานิวยอร์กจะกล่าวเตือนว่า เฟดจำเป็นต้องพิจารณาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากภาวะ Overheating เพื่อเป็นตัวกำหนดนโยบาย ซึ่งเฟดควรดำเนินนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะอาจสร้างอุปสรรคและเสี่ยงจะทำให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย
ที่มา: CNBC, Reuters, Bloomberg, Financial Times