• ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก บริเวณ 90.155 จุด หลังจากที่ปรับอ่อนค่าลงทำระดับต่ำที่ 90.113 จุด หลังจากเกิดภาวะ Shutdown ของรัฐบาลสหรัฐฯ ขณะที่บรรดานักลงทุนยังคงมีท่าทีระมัดระวังและไม่ตื่นตระหนกต่อการข่าวดังกล่าวเท่าไหร่นัก
ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่บริเวณ 1.2227 ดอลลาร์/ยูโร หลังปรับอ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดบริเวณ 1.2275 ดอลลาร์/ยูโร ต่อเนื่องจากการที่สามารถผ่านระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ระดับ 1.2323 ดอลลาร์/ยูโร ไปได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
นักกลยุทธ์อาวุโสจาก Barclays กล่าวว่า ค่าเงินดอลลารืไม่ได้ปรับอ่อนค่าลงไปมากนัก เนื่องจากตลาดรับทราบถึงโอกาสที่การลงมติร่างนโยบายจะผ่านไปได้ในสภาสหรัฐฯมีค่อนข้างต่ำ ประกอบกับภาวะ Shutdown น่าจะคงอยู่ได้ไม่นานนัก
เว้นเสียแต่ว่า ภาวะ Shutdown จะยืดเยื้อออกไปเป็นหลายสัปดาห์ หากเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะเริ่มได้รับผลกระทบในเชิงลบได้อย่างชัดเจน
ด้านค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยน ทรงตัวที่บริเวณ 110.810 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ปรับอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนบางส่วนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ที่ระดับ 2.672%
• เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2018 โดยนายจอห์น วิลเลี่ยมส์ ประธานเฟดสาขาซาน ฟรานซิสโก คาดว่า การปรับลดภาษีและปัจจัยด้านอื่นๆ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ พร้อมระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ แต่ยังไม่มีการส่งสัญญาณที่แน่ชัดเกี่ยวกับค่าจ้างหรืออัตราเงินเฟ้อ
พร้อมทั้งคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวประมาณ 2.25-2.5% ซึ่งเร็วพอที่จะผลักดันให้อัตราการว่างงานสหรัฐฯซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับ 4.1% มาอยู่ที่ระดับ 3.7% ภายในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2% ตามเป้าหมายของเฟดในอีกสองปีข้างหน้า
• ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะ Shutdown ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้แก่ การที่หน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลอาจต้องปิดทำการเป็นบางส่วน ขณะที่ข้าราชการบางคนอาจถูกสั่งพักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ยกเว้นเฉพาะหน่วยงานและข้าราชการที่ทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของประชาชนและการรักษาความมั่นคงของชาติ
ทั้งนี้ ภาวะ Shutdown ของรัฐบาลสหรัฐฯครั้งที่ผ่านมา เมื่อปี 2013 คงอยู่ยาวนานกว่า 2 สัปดาห์ และมีข้อราชการกว่า 800,000 คน ถูกพักงานชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันยังคงไม่เป็นที่แน่นอนว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสหรัฐฯจะรุนแรงเพียงใด
• สหรัฐฯเผชิญกับภาวะ Shutdown ติดต่อกันเป็นวันที่ 3 หลังจากที่การเจรจาของวุฒิสภาประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเมื่อช่วงบ่ายวันนี้ หลังจากที่ข้อเรียกร้องของพรรคเดโมแครตสำหรับร่างกฎหมายเพื่อปกป้อง "Dreamers" หรือเยาวชนที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายพร้อมครอบครัวตั้งแต่เด็ก
อย่างไรก็ดี ในวันนี้ทางวุฒิสภามีกำหนดจะโหวตในช่วงเที่ยงคืนวันนี้ เพื่อหามาตรการเตรียมระดมทุนแก่ภาครัฐเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 8 ก.พ.นี้ รวมถึงการอนุมัติให้ข้าราชการนับพันกลับเข้าทำงานได้
• นายมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ กล่าวยืนยันว่า จะพยายามทุกหนทางเพื่อให้การเจรจาระหว่างเกาหลีเหนือเกี่ยวกับการจัดกีฬาโอลิมปิก สามารถต่อยอดไปสู่การเจรจาเพื่อยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐฯได้ในที่สุด
• ในการเจรจาเพื่อก่อตั้งรัฐบาลร่วมระหว่างพรรค CDU ของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และพรรค SPD ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันนี้ ทางSPD มีการเรียกร้องให้นางแมร์เคิล เพิ่มสัมปทานในนโยบายด้านการอพยพและการประกันสุขภาพในเบื้องต้น
• ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น หลังจากรัฐมนตรีกระทรวงพังงานแห่งซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า มาตรการปรับลดกำลังการผลิตที่ปฏิบัติโดยบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก มีแนวโน้มสูงที่จะขยายเวลาออกเวลาออกไป จากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในช่วงสิ้นปี 2018
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับ +0.34% บริเวณ 68.84 เหรียญ/บาร์เรล
ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับ +0.25% บริเวณ 64.89 เหรียญ/บาร์เรล