• ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ หลังจากที่ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นตอบรับกับมุมมองเชิงบวกของกลุ่มนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจยูโรโซน
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงมา 0.62% ที่ระดับ 88.583 จุด ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าขึ้น 0.08% ที่ระดับ 109.26 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.76% ที่ระดับ 1.2514 ดอลลาร์/ยูโร โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานข้อมูลภาคการผลิตของยูโรโซนที่ออกมาสดใส
ขณะที่ภาพรวมของค่าเงินดอลลาร์ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นระดับรายเดือนที่อ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ มี.ค. ปี 2016 โดยปรับตัวลงมาประมาณ 3.25% แต่ก็มีการรีบาวน์กลับได้หลังจากที่เฟดมีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯจะปรับตัวสูงขึ้นได้ในปีนี้ จึงทำให้นักลงทุนคาดหวังทีจะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องปีนี้
• เหล่าเทรดเดอร์รอคอยข้อมูลการจ้างงานภาครัฐบาลที่จะประกาศในคืนนี้ ประกอบไปด้วยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และอัตราค่าแรงเฉลี่ยรายชั่วโมง
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลังจากสัญญาณชี้วัดทางเศรษฐกิจดูเหมือนจะยืนยันมุมมองเงินเฟ้อของเฟด โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 3% ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2017 และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นในรอบเกือบ 4 ปี บริเวณ 2.793%
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จึงเป็นการยืนยันถึงภาวะการปรับขึ้นของเงินเฟ้อในภูมิภาค
• สถาบันจัดการด้านอุปทาน หรือ ISM เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของสหรัฐฯในเดือนม.ค. ออกมาชะลอตัวลงเล็กน้อยที่ระดับ 59.1 จุด จากระดับ 59.3 จุดในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางการปรับตัวลงของยอดคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานปรับตัวลดลงจึงยังบ่งชี้ถึงภาพรวมตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ประกอบกับค่าใช้จ่ายภาคการก่อสร้างที่ปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา และทั้งหมดนี้ดูจะเป็นปัจจัยบวกที่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ผลสำรวจจาก ISM ยังคงสะท้อนถึงการปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ โดยมาตรวัดดัชนีราคาการใช้จ่ายในภาคธุรกิจ พบว่าราคาในกลุ่มวัตถุดิบนั้นปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ พ.ค. ปี 2011
• จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อย 1,000 ราย สู่ระดับ 230,000 ราย และยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 300,000 รายต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 152 โดยเป็นการอยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าวที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970
• ในวันนี้ทางทำเนียบขาวมีแนวโน้มจะยื่นเสนอเรื่องให้สภาคองเกรสดำเนินการอนุมัติเกี่ยวกับบันทึกลับจากพรรครีพับลิกันเกี่ยวกับบันทึกของ FBI ที่มีอคติกับนายทรัมป์ กรณีรัสเซีย เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยอ้างว่า FBI เป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยอคติทางการเมือง และในบันทึกดังกล่าวเป็นรายงานจำนวน 4 หน้า ซึ่งการเปิดเผยรายงานดังกล่าวอาจสร้างความตึงเครียดระหว่างพรรครีพับลิกัน และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสหรัฐฯ
• Bitcoin ปิดปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่พ.ย. ปี 2017 ที่ระดับ 8,976.12 เหรียญ ในตลาด Bitstamp หลังจากที่ Facebook ประกาศแบนโฆษณาการซื้อขายค่าเงินดิจิทัล
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังจากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่ากลุ่มโอเปกมุ่งมั่นที่จะปรับลดภาวะอุปทานยังคงมีอยู่ แม้ว่าผลผลิตของสหรัฐฯจะอยู่ที่ระดับ 10 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1970 ก็ตาม
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ปิด+1.1% ที่ระดับ 69.65 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิด+1.7% ที่ระดับ 65.80 เหรียญ/บาร์เรล ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบทั้งสองตัวปิดปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2014 ที่ผ่านมา
ขณะที่ ภาพรวมในเดือนม.ค.ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 5 เดือน โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 3.3% และน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นถึง 7.1% จึงทำในแนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในปีนี้เป็นทิศทางบวก
• ทางการสหรัฐฯ เผยว่า รัฐบาลซีเรียอาจกำลังพัฒนาอาวุ
ธเคมีตัวใหม่ และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการเตรี
ยมพิจารณามาตรการดำเนิ
นการทางทหารหากจำเป็นเพื่อขั
ดขวางการโจมตีด้วยอาวุธเคมี