ซึ่งโดยภาพรวมปริมาณความต้องการทองคำทั่วโลกปรับตัวลดลงไป 7% สู่ระดับ 4,071.7 ตันในปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี โดยความต้องการลงทุนทองคำลดลงไป 3 ใน 4 ส่วน จึงลดเม็ดเงินที่ไหลกลับเข้าสู่กองทุน ขณะเดียวกันราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ในปีที่แล้ว ได้รับอานิสงส์มาจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและมูลค่าหุ้นที่ปรับสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคการลงทุนในทองคำ
การขยายตัวที่สดใสของเศรษฐกิจทั่วทุกมุมโลก เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้ได้ในปีที่แล้ว ท่ามกลางการอุปโภคบริโภคทองคำในรูปจิวเวลรีที่เพิ่มขึ้น โดยปริมาณความต้องการทองคำในรูปจิวเวลรีในปีที่ผ่านมาถือเป็นระดับรายปีที่ปรับตัวขึ้นได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2013 แม้ว่าราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นมากถึง 13% ก็ตาม
ปริมาณความต้องการทองคำจิวเวลรีในอินเดีย หลังจากที่อ่อนตัวในปี 2016 ก็ดูเหมือนจะฟื้นตัวได้ 12% ในปีที่แล้ว โดยข้อมูลไตรมาสที่ 4/2017 ออกมาเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่ WGC เริ่มต้นเก็บข้อมูลในปี 2000 ขณะที่ปริมาณความต้องการทองคำจิวเวลรีในจีนเพิ่มขึ้น 3% ในปีที่แล้ว โดยถือเป็นปีแรกที่ปรับตัวขึ้นนับตั้งแต่ปี 2013
ปริมาณการเข้าซื้อทองคำของจีนสุทธิปีที่แล้วอยู่ที่ 953.3 ตัน ขณะที่ปริมาณความต้องการทองคำในอินเดียแตะ 726.9 ตัน จึงทำให้คาดหวังว่าปริมาณการเข้าซื้อของทั้งสองประเทศในปีนี้จะใกล้เคียงเดิมกับปีที่แล้ว โดย WCG มองว่า การเข้าซื้อของอินเดียจะอยู่ที่ 700-800 ตัน ขณะที่จีนจะอยู่ที่ 900-1,000 ตัน
ทางด้านธนาคารกลางต่างๆมีการปรับลดการเข้าซื้อติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยปริมาณความต้องการทองคำปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 อันจะเห็นได้จากการทำ Swap Dealของทางธนาคารเวเนซูเอล่าในวงเงิน 1.7 พันล้านเหรียญ กับทางดอยซ์แบงก์ในเดือนต.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณเป็นทองจะตกอยู่ที่ 45 ตัน ซึ่งถือเป็นการขายในไตรมาสที่ 4 ที่มากที่สุด
ปริมาณความต้องการทองคำจากรัสเซียและคาซัคสถานยังคงทรงตัว ขณะที่ธนาคารกลางตุรกีมีการเข้าซื้อเพิ่ม รวมทั้งจีนที่ยังมีการเข้าซื้ออย่างแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ในปีนี้คาดว่าธนาคารกลางจะมีความต้องการทองคำทรงตัวบริเวณ 300-400 ตัน โดยเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ที่มา: Reuters