• ค่าเงินดอลลาร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายปานกลางในตลาด หลังจากที่ปรับแข็งค่าไปทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ลดกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับความผันผวนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็.ค่าขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับราคาปิดในวันศุกร์ที่แล้ว โดยปรับขึ้นมายืนแถว 90.292 จุดได้อีกครั้ง และทำให้ภาพรวมสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่มีการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนต.ค. ปีที่ผ่านมา
• ผลสำรวจนักกลยุทธ์จากรอยเตอร์ส ชี้ว่า การรีบาวน์ของค่าเงินดอลลาร์ที่เกิดขึ้นยังไม่มีแนวโน้มจะเป็นการปรับขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ
• ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.1% ที่ระดับ 1.2248 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง 2.6% เมื่อเทียบจากระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ที่ทำไว้ในช่วง 10 วันที่แล้วที่ระดับ 1.2536 ดอลลาร์/ยูโร
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ดีดตัวขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี โดยตลาดยังมีแรงหนุนจากข้อมูลภาคแรงงานที่แข็งแกร่งที่จะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปรับตัวขึ้นแตะ 2.885% ได้อีกครั้งเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นระดับสุงสุดในรอบ 4 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปี ปรับขึ้นแตะ 3.168% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 15 มี.ค.
• ผลการประกาศข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานสหรัฐฯรายสัปดาห์ออกมาดีขึ้นกว่าที่คาด โดยปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปีที่ระดับ 221,000 ราย หรืปรับตัวลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 9,000 ราย จึงยังบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และหนุนกระแสคาดการณ์การเร่งขยายตัวของอัตราค่าแรงในปีนี้
• ทางวุฒิสมาชิกแห่งสหรัฐฯเมื่อคืนนี้ ไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนได้เพียงพอสำหรับการลงมติร่างกฏหมายงบประมาณสำหรับการทหาร แต่จะทำการลงมติอีกครั้งสำหรับร่างงบประมาณโดยรวมที่จะมีการเพิ่มงบประมาณสำหรับการป้องกันประเทศและอื่นๆ ภายในคืนนี้อีกครั้ง
• ทางทำเนียบขาว เผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้น้ำหนักไปยังปัจจัยทางเศรษฐกิจระยะยาว และเชื่อว่าจะอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้ว่าตลาดหุ้นจะเผชิญกับภาวะผันผวนปรับตัวลงอย่างหนัก
• รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของแคนาดา ระบุว่า การเจรจาข้อตกลง NAFTA เผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่ต้องการปฏิรูปต่างๆ
• ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ หรือบีโออี เมื่อคืนนี้ ส่งสัญญาณแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะได้รับอานิสงส์จากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจทั่วโลก และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มข้นของอังกฤษ โดยมองว่าอาจไม่นานเกินไปที่จะเห็นเงินเฟ้อแตะระดับเป้าหมาย 2% ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้านี้ ขณะที่ภาพรวมบีโออียังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ในการประชุมเมื่อคืนนี้
ถ้อยแถลงของบีโออี ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นได้ 1% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์และยูโร ขณะที่ดัชนี FTSE100 ปรับลดลง 1.6% จากทิศทางคุมเข้มทางการเงินและรายงานเงินเฟ้อ
• รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น กล่าวว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่งทั้งในญี่ปุ่นและสหรัฐฯ แม้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯจะร่วงลงหนักเมื่อไม่นานมานี้
• น้ำมันดิบปิดปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะอุปทานทั่วโลก หลังอิหร่านเผยแผนการเพิ่มกำลังการผลิต ขณะที่ผลผลิตน้ำมันในสหรัฐฯยังคงอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 70 เซนต์ หรือคิดเป็น -1.1% ที่ระดับ 64.81 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 64 เซนต์ คิดเป็น -1% ที่ระดับ 61.15 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ 2 ม.ค.