• ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อคืนนี้ แม้ว่าข้อมูลเงินเฟ้อออกมาดีขึ้นเกินคาดและเพิ่มคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงยิ่งสร้างความเป็นไปได้ที่ว่าค่าเงินดอลลาร์จะยังเป็นทิศทางขาลง
ทั้งนี้ ในช่วงต้นตลาดดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าจากการประกาศข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่มีการปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบปี ได้หนุนให้เกิดกระแสคาดการณ์ที่ว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวได้เร็วขึ้น จึงจะทำให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ แต่หลังจากนั้นดัชนีดอลลาร์ก็ปรับอ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดบริเวณ 88.94 จุด และทรงตัวที่ระดับ 89.032 จุด
• นักวิเคราะห์บางส่วน มองว่า การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์มาจากวัฎจักรการอ่อนค่า อันเป็นผลมาจากแรงขายค่าเงินดอลลาร์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่เปิดสถานะในตราสารหนี้สหรัฐฯ
• ค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.245 ดอลลาร์/ยูโร โดยปรับขึ้นได้ 0.5% เพราะได้รับอานิสงส์จากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งในยูโรโซนในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ทางด้านค่าเงินเยนปรับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 15 เดือนที่ระดับ 106.7 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะทรงตัวที่ระดับ 107.03 เยน/ดอลลาร์
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวลงหลังจากที่ทะยานขึ้นขานรับข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯในเดือนม.ค.ที่ออกมาดีขึ้นเกินคาด และหนุนให้เฟดมีกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ ขณะเดียวกันตลาดหุ้นทั่วโลกก็ฟื้นตัวจากนักลงทุนที่มีมุมมองต่อความคืบหน้าของข้อมูลเงินเฟ้อ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ระดับ 2.92% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ม.ค.ปี 2014 ก่อนที่จะทรงตัวบริเวณ 2.913% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีปรับขึ้นแตะ 3.174%
• รายงานข้อมูลเงินเฟ้อดูจะเป็นผลให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 20 – 21 มี.ค.นี้ แม้ว่าข้อมูลยอดค้าปลีกจะออกมาอ่อนแอและปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 11 เดือน แต่ภาพรวมของเครื่องมือ FedWatch จาก CME Group ยังชี้ถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นมาประมาณ 7% ที่ระดับ 83.1% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนดังกล่าวได้
• ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค. แตะระดับ 0.5% จากค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้นทางด้านแก๊สโซลีน, ค่าเช่าที่อยู่อาศัย และสุขภาพ แต่ภาพรวมรายปีของข้อมูล CPI ยังคงทรงตัวที่ระดับ 2.1% ในเดือนม.ค.
ขณะที่ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมภาคอาหารและพลังงาน (Core CPI) ออกมาดีขึ้นเกินคาดเช่นกันที่ระดับ 0.3% โดยยังคงถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ม.ค. ปี 2017 และเมื่อเทียบรายปีดัชนี Core CPI ก็ยังคงทรงตัวที่ระดับ 1.8% ในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ ข้อมูล Core CPI ค่อนข้างจะสะท้อนมุมมองได้ดีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ และเป็นหนึ่งในมาตรวัดการตัดสินใจของเฟดเกี่ยวกับดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการอุปโภคบริโภครายบุคคล แม้ว่าข้อมูลล่าสุดจะอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ระดับ 2% นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2012
• กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผย ข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนม.ค. ออกมาแย่กว่าที่คาดที่ระดับ -0.3% ซึ่งเป็นระดับการอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ก.พ. ปี 2017 ขณะทีเดือนก่อนหน้าปรับทบทวนลงมาที่ระดับ 0.0% และความอ่อนแอของข้อมูลยอดค้าปลีก และข้อมูลเงินเฟ้อที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้เฟดสาขาแอตแลนต้าทำการหั่นคาดการณ์จีดีพีลงประมาณ 0.8% สู่ระดับ 3.2% ในปีนี้ ขณะที่ไตรมาสที่ 4/17 ขยายตัวได้ 2.6%
• นายจาค็อบ ซูมา ยอมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อยุติวิกฤติการเมืองที่ยืดเยื้อ หลังเผชิญข้อหาคอร์รัปชันหลายคดี หลังครองตำแหน่ง 2 สมัย ตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองเมื่อปี 2009
• ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวขึ้น หลังรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯออกมาลดลงกว่าที่คาดการณ์ และรัฐบมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่มีอาจต้องการให้ตลาดมีความตึงตัวมากกว่าที่จะยุติข้อตกลงการปรับลดอุปทานในเร็วๆนี้
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.64 เหรียญ คิดเป็น +2.6% ที่ระดับ 64.36 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.41 เหรียญ คิดเป็น +2.4 ที่ระดับ 60.60 เหรียญ/บาร์เรล