
· ค่าเงินดอลลาร์คืนวันศุกร์รีบาวน์กลับจากระดับต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ แต่ภาพรวมตลาดยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าติดต่อกัน 5 สัปดาห์จาก 7 สัปดาห์ของปีนี้ จึงผลักดันให้ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ ธ.ค. ปี 2014
ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 89.081 จุด หลังจากร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. ปี 2014 บริเวณ 88.253 จุด
ภาพรวมค่าเงินดอลลาร์ถูกกดดันจากหลายปัจจัยในปีนี้ ประกอบไปได้วยการรับรู้ของตลาดจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้น หลังจากทั่วโลกเริ่มจะทำการปรับลดนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ขณะเดียวกันนักลงทุนก็กังวลต่อภาวะยอดงบดุลของสรัฐฯ และการขาดดุลที่อาจเพิ่มมากขึ้นถึง 1 ล้านล้านเหรียญในปีหน้า ท่ามกลางค่าใช้จ่ายในภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นและการปรับลดภาษีนิติบุคคลครั้งใหญ่
· ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลงแตะ 1.241 ดอลลาร์/ยูโร หลังขึ้นไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 บริเวณ 1.256 ดอลลาร์/ยูโร ทางด้านค่าเงินเยนยปรับอ่อนค่าขึ้นแตะ 106.3 เยน/ดอลลาร์ หลังร่วงลงไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 15 เดือนบริเวณ 105.52 เยน/ดอลลาร์
· นักลงทุนพันธบัตรหลังจากที่เพิ่มการถือครองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเมื่อเห็นถึงสัญญาณเงินเฟ้อและความเป็นไปได้ที่เฟดจะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้มากขึ้น ล่าสุดมีแนวโน้มว่าบรรดาเทรดเดอร์จะทำการเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯออกมาเป็นมูลค่า 2.58 แสนล้านเหรียญในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้
· กลุ่มก่อการร้าย IS กล่าวอ้างว่าเป็นผู้กระทำต่อเหตุการณ์ลอบยิงโบสถ์ทางตอนใต้ของรัสเซียที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 รายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้ว่า ณ ขณะนี้จะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าทาง IS เป็นผู้ดำเนินการจริงตามคำกล่าวอ้าง
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากตลาดหุ้นทั่วโลกมีการรีบาวน์ขึ้น และค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าได้ช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามมา
โดยน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 51 เซนต์ หรือคิดเป็น +0.8% ที่ระดับ 64.84 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ระหว่างวันปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดรอบ 8 วันทำการ ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นได้ 3% หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 8% ในสัปดาห์ก่อนหน้า
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 34 เซนต์ คิดเป็น +0.6% ที่ระดับ 61.68 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้น 4% หลังจากที่ร่งไปเกือบ 10% ในสัปดาห์ก่อนหน้า
