ตลาดการเงินในสหรัฐฯได้ประสบกับความผันผวนตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักคืออัตราเงินเฟ้อภายในประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณจะขยายตัว หลังจากที่เคลื่อนไหวแบบค่อนข้างทรงตัวมาตลอดเกือบทศวรรษ
อัตราเงินเฟ้อวัดค่าได้อย่างไร?
อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวโดยปกติแล้ว จะถือเป็นปัจจัยที่กดดันแรงซื้อของผู้บริโภค แต่ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อในระดับหนึ่งจะเป็นตัวชี้วัดถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อในระดับที่เหมาะสมเนื่องจากอัตรารายได้ที่จะเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์ถึงอัตราเงินเฟ้อภายในสหรัฐฯ เราจสามารถดูได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index (CPI) และ ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditures (PCE)) ซึ่งจะถูกประกาศออกมาเป็นรายเดือนและรายไตรมาส
อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด มักจะประเมินภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ โดยอาศัยการวิเคราะห์ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เป็นหลัก เนื่องจากดัชนี PCE นอกจากจะเป็นการนำเสนอการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าภายในประเทศผ่านมุมมองของผู้ขายแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่ถูกคัดกรองออกจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อีกด้วย
อะไรทำให้เกิดความกังวลในอัตราเงินเฟ้อช่วงนี้?
ในการประกาศตัวเลขการจ้างงานรายเดือนของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2018 ที่ผ่านมา พบว่าอัตราค่าจ้างขยายตัวมากที่สุดในรอบกว่า 8 ปี ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐนกำลังเข้าใกล้ภาวะอิ่มตัวของตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะสามารถขยายตัวได้
ซึ่ง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่อัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวสู่ระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% อย่างไรก็ตาม ความกังวลกลับมาจากเรื่องของนโยบายปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งจะปรับลดระดับภาษีของนิติบุคคลและบริษัทลงและหนุนการใช้จ่ายในตลาดมากขึ้น จึงอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะ Overheat และกดดันให้เฟดทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยจำนวนครั้งที่มากขึ้นกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้ ตลาดคาดโอกาส 87.5% ที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอัก 0.25% ในการประชุมเดือน มี.ค. นี้ ขณะที่เฟดคาดว่าจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2018 นี้
ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นกับตลาด
นักวิเคราะห์ส่วนมาก เชื่อมั่นว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะปรับฐานเมื่อพิจารณาจากผลประกอบการของบรรดาบริษัทและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง เทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต ขณะที่บางส่วนเชื่อว่า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้ขยายตัวถึงระดับที่น่าเป็นห่วง ตลาดหุ้นจึงยังคงมีช่องว่างให้ขยายตัวได้อีก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯสามารถขยายตัวขึ้นไปได้สู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ท่ามกลางความสัญญาณความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจทั่วโลก แนวโน้มในการเกิดภาวะขาดดุลของรัฐบาลสหรัฐฯจากแผนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ และแนวโน้มที่บรรดาธนาคารกลางอื่นๆจะเริ่มออกจาการใข้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน
ทั้งนี้ การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์มักจะดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่ค่าเงินดอลลาร์ในช่วงนี้กับเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปี เนื่องจากความกังวลว่าบรรดาธนาคารของประเทศต่างๆจะเริ่มออกจาการใข้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของเงินเฟ้อที่ชัดเจนกว่านี้ อาจทำให้เฟดพิจารณาชะลอการปรับอัตราดอกเบี้ยและกดดันค่าเงินดอลลาร์ลงมาอีกได้
ที่มา: The Straits Times