• ในช่วงต้นตลาดค่าเงินดอลลาร์ขึ้นไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ก่อนจะอ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ขณะเดียวกันก็อ่อนค่าลงจากระดับแข็งค่าในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯอาจจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม ซึ่งข่าวการเรียกเก็บภาษีครั้งใหม่ได้บดบังข่าวถ้อยแถลงของประธานเฟดและประธานเฟดสาขานิวยอร์ก
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงมาที่ระดับ 90.31 จุด จากระดับ 90.932 จุด ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ 19 ม.ค. ทางด้านค่าเงินเยนแข็งค่าลงมาบริเวณ 106.08 เยน/ดอลลาร์ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ 16 ก.พ. ก่อนจะทรงตัวแถวระดับ 106.17 เยน/ดอลลาร์
• ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมาแถว 1.2254 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์บริเวณ 1.2513 ดอลลาร์/ยูโร (ต่ำสุดเมื่อ 12 ม.ค.) จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าอัตราดอกเบี้ยของยูโรโซนจะยังคงอยู่ระดับต่ำในปีนี้ ท่ามกลางข้อมูลภาคการผลิตที่ชะลอตัว
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ล่าสุดจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า สภาพเศรษฐกิจยูโรโซนมีความแข็งแกร่ง และอาจทำให้อีซีบีตัดสินใจเริ่มลดการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในการประชุมเดือนมิ.ย.นี้
• นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า การเรียกเก็บภาษีของนายทรัมป์ สะท้อนถึงนโยบายการกีดกันทางการค้าตามแผนงานของเขาในช่วงหาเสียง ซึ่งภาวะสงครามการค้าที่กำลังเกิดขึ้นจากการเรียกเก็บภาษีอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ เนื่องจากบริษัทต่างชาติหลายๆประเทศดูจะไม่ค่อยพึงพอใจต่อการประกาศดังกล่าว
ทั้งนี้ นายทรัมป์ประกาศจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก 25% และเรียกเก็บ 10% จากการนำเข้าอะลูมิเนียม เพื่อเป็นการปกป้องภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ
• รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของแคนาดา กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเหล็กของแคนาดาจะไม่ยอมรับต่อเงื่อนไขของทางสหรัฐฯและอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศได้
• สมาคมเหล็กเยอรมนี กล่าวว่า การตัดสินใจเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กของสหรัฐฯถือเป็นการละเมิดกฎองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) เพื่อต้องการปกป้องภาคอุตสาหกรรมเหล็กของตนเองจากทั่วโลก ดังนั้นอียูจึงควรต่อต้านการดำเนินการดังกล่าวด้วยเครื่องมือที่องค์การ WTO จัดเตรียมไว้
• นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า จีนก็อาจมีแนวโน้มที่จะออกมาตรการโต้ตอบที่จะส่งผลต่อการส่งออกของสหรัฐฯได้ หลังจากที่นายทรัมป์เลือกที่จะประกาศเรียกเก็บภาษีดังกล่าว
• เช้านี้รัฐมนตรีกระทรวงการค้าญี่ปุ่น กล่าวว่า กลุ่มผู้ส่งออกเหล็กของญี่ปุ่นจะไม่ส่งผลคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ
• เมื่อคืนนี้ นายเจอโรม โพเวลล์ กล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการกำกับดูแลภาคธนาคารของวุฒิสภา โดยมีการระบุว่า ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเผชิญกับภาวะ Overheating และตลาดแรงงานยังคงมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
อย่างไรก็ดี เขามองว่ายังไม่เห็นหลักฐานใดๆที่บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าแรงที่จะช่วยเพิ่มการขยายตัวของเงินเฟ้อ แต่การขยายตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงงานเกิดขึ้นโดยปราศจากการขึ้นของเงินเฟ้อ แต่ก็เชื่อว่าจะเห็นอัตราค่าแรงฟื้นตัวและหนุนเงินฟ้อในเร็วๆนี้
• นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ถ้อยแถลงบางช่วงที่ยังสะท้อนถึงภาวะคุมเข้มทางการเงินคล้ายคลึงกับถ้อยแถลงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา จึงส่งผลไปยังตลาดหุ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ จากโอกาสที่เฟดจะทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้
• นายวิลเลียม ดัดเลย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ดูผ่อนคลายต่อโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 4 ครั้งในปีนี้ แต่ยังคงกล่าวย้ำถึงการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
• วุฒิสภาสหรัฐฯจะทำการโหวตร่างงบประมาณผ่อนคลายกฎระเบียบภาคธนาคารในสัปดาห์หน้า เพื่อเป็นขั้นตอนแรกในการกลับมาแก้ไขร่างกฎหมาปฏิรูป Dodd-Frank ที่มีผลหลังเกิดวิกฤตทางการเงินทั่วโลกในปี 2007-2009
• นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีกำหนดการจะแถลงการเปิดเผยรายละเอียดของวิสัยทัศน์นโยบายการค้าเสรีที่เปิดกว้างกว่าที่ใดๆในโลกภายในวันนี้ ซึ่งเธออ้างว่านโยบายการค้าดังกล่าวจะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป
• น้ำมันดิบปรับตัวลงกว่า 1% ลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ โดยน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 90 เซนต์ คิดเป็น -1.4% ที่ระดับ 63.83 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 65 เซนต์ คิดเป็น -1.1% ที่ระดับ 60.99 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหวางวันลงไปทำ Low บริเวณ 60.18 เหรียญ/บาร์เรล