• ดัชนีดาวโจนส์ปิด -0.29% บริเวณ 24,538.06 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิด +0.51% บริเวณ 2,691.25 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -1.08% บริเวณ 7,257.87จุด
สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปิด -3% ส่วนดัชนี S&P 500 ปิด -2% และดัชนี Nasdaq ปิด -1%
ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวอย่างผันผวนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการเกิดสงครามทางการค้าขึ้น หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายตลาดดัชนีหุ้นส่วนมากสามารถกลับมาปิดตลาดในแดนบวกได้ หลังความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าเริ่มผ่อนคลายลง เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนมองว่าเป็นเรื่องที่ยังห่างไกล
• ตลาดหุ้นเอเชียเปิดแดนลบเช้านี้ ท่ามกลางการอ่อนค่าของค่าเงินยูโรในช่วงต้นตลาด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯถูกกดดันและให้ความสนใจไปยังการประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าโลหะ โดยเช้านี้ดัชนีนิกเกอิเปิด -0.56% ท่ามกลางการแข็งค่าของค่าเงินเยนที่เข้ากดดันหุ้นกลุ่มผู้ส่งออกในเช้านี้ ประกอบกับหุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทเทคโนโลยีอ่อนตัวลง
ด้านดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -0.23% ท่ามกลางการแกว่งตัวผันผวนของหุ้นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี
อย่างไรก็ดี ตลาดก็จับตาไปยังการเลือกตั้งของอิตาลีด้วยเช่นกัน ที่ดูเหมือนผล Exit Poll จะบ่งชี้ว่าอิตาลีจะเผชิญกับภาวะรัฐสภาแขวน (Hung Parliament)
• นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ในกรอบระหว่าง 31.30-31.70 บาท/ดอลลาร์ฯ โดยต้องติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าทีเฟด และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร การจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานเดือนม.ค. รายงาน Beigebook ของเฟด นอกจากนี้ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.พ. ตลอดจนผลการประชุมของอีซีบีและบีโอเจ
• กระทรวงพาณิชย์ไทย เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ของเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 0.42% ที่ 101.21 จุด จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ Core CPI เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 0.63% ที่ 101.71 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.07% จากเดือน ม.ค.61 นอกจากนี้ ยังคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 61 ที่ 0.7-1.7% ภายใต้สมมุติฐานการขยายตัวเศรษฐกิจไทยทั้งปี 61 อยู่ที่ 3.6-4.6%