• แบบสำรวจโดย Bloomberg คาดการณ์ว่า อัตราค่าครองชีพในสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะไม่ขยายตัวเร็วเท่าในช่วงต้นปี โดยเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯขยายตัว 0.2% ซึ่งเป็นอัตราที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ซึ่งการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินในขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในการประชุมวันที่ 21 มี.ค. นี้
• รายงานล่าสุดจาก Reuters ระบุว่า นายแลรี่ คุดโลว์ นักวิจารณ์เชิงอณุรักษ์นิยม มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระดับสูงประจำตัวประธานาธิบดีสหรัฐฯ แทนนายแกรี่ โคห์น ที่ปรึกษาคนเก่าที่ประกาศลาออกไป
นอกจากนายแลรี่ ก็ยังมีนายคริส ลิดเดลล์ อดีตกรรมการบริษัท Microsoft และ General Motors รวมถึง นายปีเตอร์ นาวาโล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจผู้เสนอแนวคิดขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กอลูมิเนียม ก็มีโอกาสได้รับการเลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้เจ้าตัวจะประกาศว่า ตนไม่สนใจตำแหน่งดังกล่าวก็ตาม
• นายวิลบอร์ รอส เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์แห่งสหรัฐฯ เรียกร้องให้สหภาพยุโรปทำการลดข้อจำกัดทางการค้าลง หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าการค้าขายร่วมกับสหภาพยุโรปไม่มีความยุติธรรมต่อภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ
• ค่าเงินเยนทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ที่บริเวณ 106.44 เยน/ดอลลาร์ หลังจากปรับอ่อนค่าขึ้นมากว่า 0.4% เมื่อวานนี้ ท่ามกลางความกังวลทางการเมือง เกี่ยวกับข้อต้องสงสัยการทุจริตของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เกี่ยวกับการปลอมแปลงเนื้อหาในเอกสารที่ดินของรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้เขาไม่สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ซึ่งรวมไปถึงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินด้วย
• รัฐบาลญี่ปุ่น น่าจะมีการเรียกร้องให้บรรดาประเทศในกลุ่ม G20 เพิ่มการคุมเข้มในการลงทุนสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้นในการประชุมสัปดาห์หน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการฟอกเงินโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงต่อจากเมื่อคืนนนี้ โดยตลาดยังคงกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตน้ำมันของสหรัฐฯที่เข้ากดันตลาด โดยดัชนี WTI ปรับลง 18 เซนต์ คิดเป็น -0.3% ที่ระดับ 61.18 เหรียญ/บาร์เรล ขณะทีน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 18 เซนต์ คิดเป็น -0.3% ที่ระดับ 64.77 เหรียญ/บาร์เรล