· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่รอคอยรายงานมุมมองทางเศรษฐกิจและจำนวนครั้งที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นสู่ 90.397 จุดในช่วงต้นตลาด ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 1 มี.ค. ก่อนจะย่อมาทรงตัวบริเวณ 90.378 จุด
ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าขึ้นไปทำระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 สัปดาห์บริเวณ 106.6 เยน/ดอลลาร์ ก่อนจะย่อกลับมาเล็กน้อยบริเวณ 106.45 เยน/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.2249 ดอลลาร์/ยูโร โดยถูกดดันจากสถาบัน ZEW เผย ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในเยอรมนีประจำเดือนมี.ค. ออกมาแย่ลงเกินคาดสู่ระดับ 5.1 จุด จากเดิมในเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 17.8 จุด
รายงานจาก FXStreet ระบุว่า ข้อมูลความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลงดังกล่าวมาจากนักลงทุนที่กังวลต่อภาวะความขัดแย้งทางการค้า จึงทำให้นักลงทุนเยอรมนีมีท่าทีเยอรมนี ขณะที่การแข็งค่าของค่าเงินยูโรดูเหมือนจะบั่นทอนแนวโน้มเศรษฐกิจของเยอรมนี แต่ถึงแม้จะมีความเสียง ภาพรวมของเศรษฐกิจเยอรมนีโดยองค์รวมก็ยังอยู่ในทิศทางเชิงบวก
· เหล่าเทรดเดอร์ในตลาดอนุพันธ์ มองว่า เฟดจะทำการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวาระนี้อีก 0.25% สู่กรอบ 1.50 – 1.75% ซึ่งผลการประชุมเฟดจะประกาศในช่วงเวลาประมาณตี 1 คืนนี้ ประกอบกับมีถ้อยแถลงของประธานเฟดคนใหม่หลังเสร็จสิ้นการประชุมด้วย
· นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า นักลงทุนบางกลุ่มก็ยังมีมุมมองว่า รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของเฟดอาจเป็นไปได้ที่จะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยจำนวน 4 ครั้ง
· ขณะที่กระแสคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดได้หนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้นทั้งผลตอบแทนระยะยาวและระยะสั้น โดยอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปีปรับขึ้นมากที่สุดบริเวณ 2.89% ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวใกล้กับระดับสูงสุดรอบ 4 ปี บริเวณ 2.957% ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 2 ปีปรับขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 9 ปีครึ่งที่ 2.33%
· นายสตีเวน มนูชิน เลขาธิการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า แผนการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศ ไม่ได้เกี่ยวกับข้องกับการกีดกันทางการค้าแต่อย่างใด แต่เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯเอง
· เมื่อคืนนี้ ทางวุฒิสภาสหรัฐฯ ปฏิเสธการแก้ไขปัญหาและยุติการให้ความช่วยเหลือแก่โครงการของซาอุดิอาระเบีย กรณีภาวะสงครามยืดเยื้อในเยเมน ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯก็มีการเข้าพบกับเจ้าชายแห่งซาอุดิอาระเบีย ที่ทำเนียบขาว
โดย นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้การต้อนรับมงกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดิอาระเบีย พร้อมกล่าวยกย่องความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐฯและซาอุฯ แม้ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีความบาดหมางกันในสมัยของนายบารัค โอบาม่า อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับกรณีของอิหร่านก็ตาม
นอกจากนี้ นายทรัมป์ ยังแสดงความขอบคุณที่ซาอุฯช่วยอุดหนุนอาวุธจากสหรัฐฯ ที่เป็นการช่วยสนับสนุนตลาดแรงงานในสหรัฐฯมาโดยตลอด
· รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า นายทรัมป์ ได้แสดงความยินดีกับชัยชนะการเลือกตั้งของ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และดูเหมือนจะมีกำหนดการเข้าพบกันระหว่าง 2 ประเทศในเร็วๆนี้ และอาจส่งผลให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการที่รัสเซียมีส่วนแทรกแซงระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ
· การประชุม G20 ยังคงไม่มีความคืบหน้าที่สำคัญใดๆ ท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบายเชิงกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ในการเล็งขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากนานาประเทศ รวมถึงแผนขึ้นภาษีสินค้านำเข้าในกลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสารจากจีน ที่สหรัฐฯมีกำหนดการจะเปิดเผยรายละเอียดในวันศุกร์นี้
ทั้งนี้ ในการประชุม รัฐมนตรีการคลังญี่ปุ่น ได้กล่าวเตือนว่า สัญญาณความผันผวนในตลาดโลกยังคงมีอยู่ แม้เศรษฐกิจโลกจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งก็ตาม พร้อมแสดงความกังวลว่า ค่าเงินเยนอาจยังมีโอกาสที่จะปรับแข็งค่าได้ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
· สถาบันการเงินรายใหญ่ของยุโรปอย่าง European Investment Bank (EIB) อาจปรับเพิ่มหุ้นงบประมาณของอียูจาก 3% เป็น 5% เพื่อชดเชยปัญหา Brexit โดยประธานธนาคาร EIB มองว่า การปรับเพิ่มเปอร์เซ็นต์ขึ้นอีก 2% จะช่วยเพิ่มผลประกอบการรายปีของบริษัทฯให้เพิ่มขึ้นอีก 3 พันล้านยูโร สู่ระดับประมาณ 7.8 พันล้านยูโร และช่วยบรรเทาภาวะ Brexit ที่จะเกิดขึ้นด้วย
· คณะกรรมการแห่งสหภาพยุโรป เตรียมยื่นเสนอร่างนโยบายเพิ่มการเรียกเก็บภาษีสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัล โดยคิดเป็นภาษี 3% จากผลประกอบการทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่าง Google หรือ Facebook ที่มีผลประกอบการรายปีมากกว่า 7.50 ร้อยล้านยูโร (9.19 ร้อยล้านเหรียญ) จึงอาจถูกเก็บภาษีที่เพิ่มเป็นประมาณ 5 สิบล้านยูโรต่อปี
· น้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 3 สัปดาห์ จากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และความเป็นไปได้ที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเวเนซูเอล่าจะปรับลดลง จึงช่วยชดเชยผลประทบจากการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น
น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.37 เหรียญ คิดเป็น +2.07% ที่ระดับ 67.42 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันขึ้นไปทำ High นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.พ. บริเวณ 67.88 เหรียญ/บาร์เรล
น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.34 เหรียญ คิดเป็น +2.2% ที่ระดับ 63.40 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันเมื่อวานนี้มีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 62.08 – 63.81 เหรียญ/บาร์เรล