1. สงครามการค้า
เกิดความกังวลขึ้นในตลาดโลกเกี่ยวกับโอกาสเกิดสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก หลังจากสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดนทางจีนก็โต้กลับด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ
ถึงแม้ตลาดจะมีตอบรับจากข่าวดังกล่าวไปบ้างแล้ว แต่นักวิเคราะห์ก็ได้เตือนว่า บางทีตลาดอาจจะยังไม่ได้ประเมินไปถึงสงครามทางการค้าอย่างเต็มรูปแบบ
2. ไตรมาสแรกของปี 2018 กำลังจะจบลง
ตลอดไตรมาสที่ 1/2018 เกิดเหตุการณ์ในตลาดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนอย่างหนักในตลาดหุ้นเมื่อช่วงกลางเดือน ม.ค. ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้าที่กดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสความกังวลหลังจากความผันผวนในเดือน ม.ค. จะเริ่มจางหายไปแล้ว แต่ทั้งดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ต่างเคลื่อนไหวในแดนลบสำหรับภาพรวมรายปี ยิ่งไปกว่านั้น ไตรมาสที่ 2/2018 ยังดูมีท่าทีของความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจมากกว่าเดิม ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดันความต้องการในสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณของเศรษฐกิจที่เริ่มอื่มตัว โดยเฉพาะในตลาดยุโรป
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ยอดดุลการค้า (GDP) ในไตรมาสที่ 4/2017 ของสหรัฐฯจะถูกเปิดเผยในคืนวันพุธที่จะถึงนี้ โดยตามทฤษฎีแล้ว ปัจจัยดังกล่าวน่าจะประกาศออกมาไม่น่าจะเป็นที่ผิดหวังต่อตลาด เนื่องจากในช่วงไตรมาสดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯเพิ่งจะลงนามในนโยบายปฏิรูปภาษีไป รวมถึงยังไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับสงครามทางการค้า
4. ตลาดยุโรป
บรรดานักลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปดูเหมือนจะผิดหวังกับผลประกอบการของตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการทั้งยูโรโซนและอังกฤษจะถูกเปิดภายในสัปดาห์นี้ อาจจะเป็นได้ทั้งแรงกดดันหรือแรงหนุนความคาดหวังของบรรดานักลงทุน
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า ตรวจพบการไหลออกของเงินทุนจากยุโรปมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ แม้จะข่าวดีอย่างการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของนายเอมมานูเอล มาครอง ที่ช่วยให้ความกังวลเกี่ยวกับการเกิดกรณีคล้าย Brexit ผ่อนคลายลงไปก็ตาม
5.หุ้น Facebook
การปรับร่วงของหุ้น Facebook เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก Facebook เปรียบเสมือนหัวเรือหลักของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับรูปแบบของเศรษฐกิจในปัจจุบันที่พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ Facebook อาจเป็นจุดเปลี่ยนของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในอนาคตได้