ถึงแม้กระแสเกี่ยวกับการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนจะเริ่มจางหายไปในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ความเสี่ยงเกี่ยวกับโอกาสเกิดสงครามทางการค้าขึ้นก็ยังคงมีอยู่ โดยเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ทางการจีนได้ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าประเภทข้าวฟ่างถึง 178.6% โดยข้าวฟ่างเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตแอลกอฮอล์และเชื้อเพลิงชีวภาพ ขณะที่ทางสหรัฐฯก็ได้ข่มขู่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าหลายประการตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ อากาศยาน จนถึงรถยนตร์ รวมเป็นมูลค่ากว่า 1.50 แสนล้านเหรียญ
หากเกิดสงครามทางการค้าขึ้นจริง การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก็มีแนวโน้มสูงที่จะได้รับผลกระทบในทางลบ แม้เศรษฐกิจจีนจะมีเงินหมุนเวียนภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่จีนก็ยังถือว่าผู้ส่งออกสำคัญที่มีการส่งออกเป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านเหรียญในแต่ละปี โดยเมื่อปีที่ผ่านมา จีนได้ส่งออกสินค้าสู่สหรัฐฯเป็นมูลค่า 5.06 แสนล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 20% ของยอดส่งออกทั้งหมดของจีน ขณะที่สหรัฐฯส่งออกสู่จีน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.30 แสนล้านเหรียญในปีเดียวกัน
เมื่อเดือน ม.ค. ทางองค์กร IMF ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตเต็มที่ได้ที่ระดับ 6.6% ในปี 2018 แต่ในปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวอาจถูกปรับลดลงมาได้ถึง 0.5% ถ้าการขึ้นภาษีมีผลบังคับใช้จริง แต่อาจชะลอตัวลงยิ่งกว่านั้น หากสงครามการค้าประทุขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เศรษฐกิจจีนจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีนำเข้ามากนัก เนื่องจากจีนพึ่งพาการหมุนเวียนของเงินภายในประเทศมากกว่า แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยเพียงตัวเดียวที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตราหนี้สินต่อดุลการค้าของจีน ขยายตัวสูงขึ้นมาสู่ระดับมากกว่า 300% จากระดับ 160% เมื่อช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรัฐบาลจีนเอง ได้ออกมาเตือนให้ระมัดระวังภาวะฟองสบู่ของหนี้สิน
ผู้บริหารของ China Huarong Asset Management ได้อธิบายว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจาก โปรเจ็คการลงทุนในโครงการพื้นฐานของรัฐบาลที่มีมูลค่ากว่าล้านล้านหยวน รวมถึงภาคธนาคารที่มีมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะ Shadow banking ที่ทางรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ และการที่ผู้ประกอบการบางส่วนไม่สามารถชำระหนี้สินได้ตามกำหนด โดยปริมาณหนี้สินที่ไม่ได้รับการชำระอาจเพิ่มขึ้นถึงระดับ 4.76 แสนล้านเหรียญภายในปี 2020
ที่มา : CNBC