ขณะที่ค่าเงินเยนทรงตัวที่บริเวณ 109.17 เยน/ดอลลาร์ จากการประชุมบีโอเจที่มีมติคงนโยบายตามคาด หลังอ่อนค่าขึ้นไปแตะระดับ 109.49 เยน/ดอลลาร์เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้
ด้านค่าเงินยูโร ปรับอ่อนค่าลงมาบริเวณ 1.20965 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นไป 1.4%
· คณะกรรมการตุลาการแห่งวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา ได้พยายามผลักดันร่างนโยบายที่จะเป็นการคุ้มครองนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ หัวหน้าคณะสืบสวนพิเศษ ไม่ให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สามารถใช้อำนาจของเขาในการสั่งปลดนายมูลเลอร์ออกจากตำแหน่งได้
อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเสียงดูจะไม่เป็นผลดีต่อร่างนโยบาย เนื่องจากมีสมาชิกจากพรรครีพับลิกันเพียง 4 คน และจากพรรคเดโมแครตอีก 10 คน ที่โหวตสนับสนุนร่างนโยบาย
ขณะที่ทางนายมิทช์ แมคคอนเนล หัวหน้าพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า ไม่มี “ความจำเป็น” ที่จะต้องใช้นโยบายตัวนี้ และเขาจะไม่ออกเสียงสนับสนุน
· นายไมค์ ปอมเปโอ ผู้บริหาร CIA เข้าพีธีสาบานตนรับตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงการต่างประเทศ ภายในวุฒิสภาของสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ โดยนายไมค์จะเริ่มต้นงานในตำแหน่งใหม่ของเขาด้วยการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน และ อิสราเอลในช่วงสุปดาห์ รวมถึงเข้าร่วมการประชุม NATO ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในคืนวันศุกร์นี้
· บีโอเจประกาศคงนโยบายการเงิน และขยายกรอบเวลาสำหรับการขยายตัวอัตราเงินเฟ้อสู่ระเป้าหมายที่ 2% บ่งชี้ถึงบีโอเจไม่ได้เร่งรีบให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเร็วขึ้นแต่อย่างใด ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของบีโอเจยังถูกคงไว้ที่ระดับ -0.1% ขณะที่เป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ก็ถูกคงที่ระดับใกล้ 0%
สำหรับคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น บีโอเจยังคงคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจปีงบประมาณต่อไปไว้ที่ 1.8% เท่ากับคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อน และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวสู่ระดับ 1.8% ภายในปีงบประมาณ 2021
· อัตราการผลิตของภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นขยายตัวเกินคาดในเดือน มี.ค. ที่ระดับ 1.2% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.5% ขณะที่ยอดของเดือน ก.พ.ขยายตัวได้ 2.0% อย่างไรก็ตาม จำนวนชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคคงคลังที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเป็นปัจจัยกดดันปริมาณการผลิต และส่งผลกระทบทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม
ขณะที่ยอดค้าปลีกในญี่ปุ่นขยายตัวได้ 1.0% ในเดือน มี.ค. น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.7% ส่วนการจ้างงานยังคงชะลอตัว โดยดัชนีตำแหน่งงานต่อผู้สมัคร (jobs-to-applicants ratio) ขยายตัวสู่ระดับ 1.59 จุด ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราการเกิดในประเทศที่ต่ำและจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น
· ผลประกอบการรายปีของภาคอุตสาหกรรมในจีน ขยายตัว 3.1% ในเดือน แต่เป็นการชะลอตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับผลประกอบการในช่วง 2 เดือนแรกของปี จึงเป็นการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนอาจเริ่มชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ผลประกอบการของเดือนที่ผ่านมา ปรับลดลงกว่า 23.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และยังเป็นอัตราชะลอตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 2016 ขณะที่ผลประกอบการในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2018 ขยายตัวได้ 16.1%
โดยผลประกอบการที่ชะลอตัวลงเกิดจากช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลตรุษจีน รวมถึงราคาผู้บริโภคที่ย่อตัวลง และราคาต้นทุนที่สูงขึ้นจากความแตกต่างของอัตราแลกเปลี่ยน
· GDP สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงที่ระดับ 2.0% ตามผลสำรวจโดย Reuters ท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 1/2018 แต่คาดว่าจะเป็นเพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางคงามกังวลเกี่ยวกับกังวลว่าอิหร่านอาจเผชิญกับการคว่ำบาตร ทั้งนี้ น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลง 0.3% 68 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง 0.4% ที่ระดับ 74.47 เหรียญ/บาร์เรล