• ดัชนีดาวโจนส์ปิด +0.37% ที่ระดับ 24,831.17 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด +0.17% ที่ระดับ 2,727.72 จุด ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิด -0.03% ที่ระดับ 7,402.88 จุด
สำหรับภาพรวมสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ปรับขึ้น 2.3% ดัชนี S&P500 ขยับขึ้น 2.4% และดัชนี Nasdaq ปรับขึ้นได้ 2.7%
อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากที่นายทรัมระบุว่า ถึงราคายาจะอยู่ในระดับสูง แต่จะหาวิธีหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปรับลดราคาดังกล่าว ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 18 เม.ย. แต่เหล่าเทรดเดอร์บางส่วนเชื่อว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจหมายถึงตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นต่อได้
• ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผสมผสานกันในเช้านี้ ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ทรงตัว โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -0.06% ขณะที่ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.3%
• นักบริหารเงินมองว่าระยะสั้นเงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวตามแรงซื้อแรงขาย โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 31.75-32.00 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทยังเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับสกุลอื่นเนื่องจากยังมีแรงขายทำกำไรดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ที่จะมากระทบต่อค่าเงินบาท
นักบริหารเงินยังได้ประเมินทิศทางค่าเงินบาทในไตรมาส 2/61 ว่ามีโอกาสปรับตัวอ่อนค่าแตะ 32.50 บาท/ดอลลาร์ และในไตรมาส 3/61 จะอยู่ที่ 31.50-32.50 บาท/ดอลลาร์ โดยจะกลับมาแข็งค่าในไตรมาส 4/61 ส่งผลทำให้เงินบาทสิ้นปีนี้น่าจะอยู่ที่ 32.00 บาท/ดอลลาร์
• สัปดาห์นี้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันพุธที่ 16 พ.ค. 2561 ซึ่งคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50%
• รายงานจาก Reuters ระบุว่า เศรษฐกิจไทยภายใต้การบริหารของรัฐบาลทหารชุดปัจจุบัน เติบโตได้เชื่องช้าเมื่อเทียบกับการเติบโตของประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลได้กดดันความเชื่อมั่นในการลงทุภายในประเทศ
ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งประเทศจีนประเมินว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 4.2% สำหรับปีนี้ อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่าการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศอาจย่ำแย่กว่าที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้