• ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.92 เยน/ดอลลาร์ โดยทำระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 111.005 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ท่ามกลางแรงหนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพับธบัตรสหรัฐฯ
โดยอัตราผลตอบแทนพับธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงตลาดเอเชียวันนี้ และขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 3.128% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนพับธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี สามารถปรับสูงขึ้นมาได้ 0.15% ซึ่งเป็นอัตราที่มากที่สุดในรอบกว่า 3 เดือน
สำหรับดัชนีดอลลาร์ ยังคงเคลื่อนไหวแถวระดับ 93.467 จุด ซึ่งอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ 93.632 จุด
ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.1% บริเวณ 1.1806 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ 1.1763 ดอลลาร์/ยูโร เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ท่ามกลางแรงกดดันจากความตึงเครียดทางการเมืองยุโรป จากประเด็นการก่อตั้งพรรคร่วมรัฐบาลในอิตาลี
• บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่า บรรดาผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ยังสามารถอาศัยแรงหนุนจากนโยบายปฏิรูปภาษี เพื่อช่วยให้มีผลประกอบการสูงยิ่งขึ้นได้ภายในปีนี้ เนื่องจากการใช้จ่ายที่ยังมีแนวโน้มจะสามารถขยายตัวได้ ซ้ำยังอาจมีการขยายตัวได้มากกว่าในไตรมาสที่ 1/2018
• รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานแห่งเยอรมนี ประกาศว่า หากสหรัฐฯยึดมั่นในหลัก “American First” ด้วยการเห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเอง ยุโรปจะตอบโต้ด้วยหลักการเดียวกัน
ถ้อยแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ทางการสหรัฐฯพยายามต่อต้านไม่ให้มีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่เชื่อมต่อเยอรมนีและรัสเซียผ่านใต้ทะเลบอลติก เพื่อที่ยุโรปจะสามารถหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มั่นคงให้ตนเองได้
• ทางการจีน ประกาศยกเลิกการนโยบายที่บังคับให้ผู้ส่งออกสินค้าประเภทข้าวฟ่างจากสหรัฐฯต้องทำการวางเงินมัดจำ หลังตรวจสอบพบว่า ข้าวฟ่างเป็นสินค้าเกษตรที่สหรัฐ “ทุ่มตลาดและอุดหนุนราคาอย่างไม่เป็นธรรม”
การประกาศดังกล่าว เป็นการแสดงถึงจุดมุ่งหมายอันดีของนายหลิว อี้ รองนายกรัฐมนตรีจีน ที่กำลังดำเนินการเจรจากับสหรับนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้าของทั้ง 2 ประเทศ
• ผลสำรวจของ Reuters คาด การยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. มีแนวโน้มจะสามารถขยายตัวได้ 8.1% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 ท่ามกลางแรงสนับสนุนจากปริมาณอุปสงค์ทั่วโลกที่แข็งแกร่ง
ขณะที่ยอดนำเข้ามีแนวโน้มจะขยายตัวได้ 9.6% ในเดือน เม.ย. หลังจากที่ยอดนำเข้าในเดือน มี.ค. ชะลอตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
สำหรับยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. ถูกคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.056 แสนล้านเยน (3.66 พันล้านเหรียญ)
• มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น ชะลอตัวลงอีกครั้งในเดือน เม.ย. โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ที่รวมสินค้าประเภทพลังงาน แต่ไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวนสูง ขยายตัวได้ 0.7% ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ 0.8% ขณะที่ดัชนีในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาขยายตัวได้ 0.9% จึงเป็นการชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อโดยรวมของญี่ปุ่นจึงยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถขยายตัวสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ตามระยะเวลาที่บีโอเจประเมินเอาไว้
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากปริมาณความต้องการที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางการปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มโอเปกและมาตรการการที่สหรัฐฯคว่ำบาตรอิหร่าน
อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบหลายปี เนื่องจากยอดการผลิตสหรัฐฯคาดว่าจะชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.3% ที่ระดับ 79.55 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 0.2% ที่บริเวณ 71.65 เหรียญ/บาร์เรล