นักวิเคราะห์จาก Dutch bank ING ระบุว่า แม้ว่าราคาทองคำจะอยู่ต่ำกว่าระดับ 1,300 เหรียญ แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ช่วยหนุนต่อราคาทองคำได้อยู่ ดังนี้
1. ปริมาณความต้องการทองคำ
2. ภาวะตึงเครียดทางการเมือง
3. อัตราเงินเฟ้อ
จะเห็นได้ว่า ราคาทองคำร่วงหลุดต่ำกว่า 1,300 เหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ราคาปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับดังกล่าวในปีนี้ และทำให้ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วราคาร่วงลงแตะระดับต่ำนับตั้งแต่ ธ.ค. ปี 2017
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จาก ING ไม่คาดว่าราคาทองคำจะร่วงลงไปมากกว่านี้ แต่ก็ไม่คาดว่าในช่วง 2 – 3 เดือนข้างหน้าราคาจะขึ้นได้ก่อนมีสัญญาณรีบาวน์ใดๆ โดยระยะยาวคาดว่ากลุ่มผู้ซื้อหรือกลุ่มผู้บริโภคทองคำจะเข้ามาซื้อและช่วยหนุนให้ทองคำปรับตัวขึ้น แม้ว่ากิจกรรมด้านการลงทุนในระยะสั้นของกลุ่มผู้จัดการด้านการเงินต่างๆจะดูไม่สดใสนัก
หนึ่งในสัญญาณที่ดีของทองคำคือการถือครองของกองทุน ETF ที่มีการเพิ่มการถือครองมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 และถือเป็นการสะท้อนสัญญาณบวกได้บ้าง หลังจากที่ราคาปรับตัวลดลง
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าในช่วงสิ้นปีนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนต่างๆที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ โดยจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการเคลื่อนไหวเป็น Flattening Yield Curve ท่ามกลางปัญหายอดขาดดุลเป็นสองเท่าที่ดูจะเกิดขึ้นในช่วงเลือกตั้งทั่วไปในกลางปีนี้ ที่อาจกลายเป็นประเด็นสำคัญของความไม่แน่นอนทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น และทำให้ค่าเงินดอลลาร์กลับทิศทางจากแข็งค่ามาอ่อนค่าได้ และเมื่อนั้นเราก็จะเห็นทองคำกลับมาสดใสอีกครั้ง ท่ามกลางทิศทางการฟื้นตัวของเงินเฟ้อที่ดูจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในปีนี้
ปริมาณความต้องการทองคำยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเชิงบวกที่ดีต่อราคาทองคำในปีนี้ ท่ามกลางรายงานจาก World Gold Council ที่คาดว่าความต้องการทองคำในไตรมาสที่ 1 จะปรับตัวลงไป 7% และความต้องการทองคำในอินเดียจะเพิ่มขึ้นประมาณ 12% ตามมา โดยในไตรมาสที่ 1 ความต้องการทองคำของอินเดียชะลอตัวลงเป็นการชั่วคราว และน่าจะฟื้นตัวได้ก่อนช่วงเทศกาลแต่งาน
ขณะที่ความตึงเครียดทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นอาจทำให้เกิดแรงเข้าซื้อกลับในกองทุนทองคำและจะหนุนให้ราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น ต้องติดตามจากประเด็น เจรจาเกาหลีเหนือ – สหรัฐฯ และท่าทีทางการค้าของสหรัฐฯ-อียู ประกอบไปด้วย
ที่มา: Kitco