ทั้งนี้ แหล่งข่าวระบุว่า นายเซอร์จิโอ มัตตาเรลลา อาจทำการประกาศยุบสภาในอีกไม่กี่วันนี้ และจะเกิดการเลือกตั้งในช่วง 29 ก.ค. นี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปีดีดขึ้น 3.19% หลังจากที่เคลื่อนไหวต่ำกว่า 2% มาตลอดในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า
ด้านดัชนีดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวระดับสูงบริเวณ 94.631 จุด ใกล้เครียงกับระดับ Double-top 95.15 จุด ในช่วงระหว่างเดือนต.ค.และพ.ย. ในปีที่แล้ว ทางด้านค่าเงินเยนแข็งค่าทำระดับต่ำสุดรอบ 5 สัปดาห์บริเวณ 108.115 เยน/ดอลลาร์
· ทางการจีนกล่าวประนามสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯได้ออกกล่าวระบุว่าจะกดดันจีนด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและคุมเข้มการลงทุนจากบริษัทชาวจีนต่อไป พร้อมยืนยันว่าจีนพร้อมที่ตอบโต้หากสหรัฐฯต้องการที่จะก่อสงครามทางการค้า
· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเยอรมนีปรับตัวลงเกินคาดในเดือนพ.ค. สู่ระดับ 2.358 ล้านราย โดยลดลงไป 11,000 ราย ขณะที่อัตราว่างงานแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.2% ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ 1990 จึงสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานที่กลายเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนข้อมูลกลุ่มผู้บริโภค
· โฆษกประจำทำเนียบขาว เปิดเผยว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ในทำเนียบขาวยังคงดำเนินงานเพื่อผลักดันในเกิดการประชุมร่วมกันระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่“คาด”ว่าจะเกิดขึ้นได้ในวันที่ 12มิ.ย. ในประเทศสิงคโปร์ ถึงแม้นายทรัมป์จะประกาศยกเลิกไปเมื่อ 5 วันที่ผ่านมา
· หลังจากที่ตลาดยุโรปเริ่มคลายความกังวลกับวิกฤติเศรษฐกิจของกรีซที่ยืดเยื้อมาเกือบทศวรรษ และได้สั่นคลอนไปถึงรากฐานของระบบการเงินทั่วทวีปยุโรป ล่าสุด ความกังวลได้กลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เกิดขึ้นกับประเทศอิตาลีที่มีเศรษฐกิจใหญ่กว่ากรีซเป็น 10 เท่าตัว
นักวิเคราะห์จาก American Enterprise Institute ประเมินว่า ค่าเงินยูโรอาจไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยระบบในปัจจุบัน หากอิตาลีถอนตัวออกจากการใช้สกุลเงินยูโร
· รายงานจาก CNBC ระบุว่า นายโอลิวิเย่ อดีดผู้อำนวยการฝ่ายนักเศรษฐศาสตร์จากไอเอ็มเอฟ เป็นกังวลอย่างหนักต่อผลกระทบที่จะเกิดกับอิตาลีมากกว่ายุโรป ผลกระทบทางการเมืองของอิตาลีจะส่งผลเสียครั้งใหญ่ต่ออิตาลีมากกว่าขยายเป็นวงกว้างในยูโรโซน แม้ว่าจะเกิดภาวะ Panic ไปทั่วทุกตลาดให้เกิดแรงขายอย่างหนักขึ้นมา จากกรณีที่ยังไม่สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลได้ ประกอบกับประธานาธิบดีอิตาลีใช้สิทธิคันค้าน นายซาโวนา ผู้มีแนวคิดต่อต้านค่าเงินยูโรมาเป็นรัฐมนตรีกระรวงเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีอิตาลีมีแนวโน้มจะจัดการเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนก.ค. หลังประกาศยุบสภา
อย่างไรก็ดี อิตาลีมีระดับหนี้สินจำนวนมากในยูโรโซน ซึ่งคิดเป็น 132% ของจีดีพี หรือ 2 เท่าของเยอรมนี จากหนี้เสียในภาคธนาคาร ขณะที่ตลาดยังคงมีความกังวลต่อแผนเศรษฐกิจของพรรค M5S และ Liga แม้ว่าทั้งสองพรรคจะยังไม่ได้ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ว่าจะก้าวออกจากอียูก็ตาม แต่พวกเขาก็ดูเหมือนจะเมินต่อกฎทางการเงินของอียู ในการจำกัดระดับยอดขาดดุลการค้า นอกจากนี้ พวกเขายังมีแผนที่จะทำการปรับลดภาษีเพื่อหนุนค่าใช้จ่ายสาธารณะ และทำการการันตีรายได้ ท่ามกลางข้อเสนอทางค่าใช้จ่ายอื่นๆ
· สภาหอการค้าเยอรมนี (DIHK) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีปีนี้ลงสู่ระดับ 2.2% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.7% ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ขยายตัวขึ้นในยุโรป
· รายงานจาก Reuters ระบุว่า นโยบายขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มยานพาหนะของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้สร้างความยากลำบากในการออกนโยบายเศรษฐกิจให้กับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถึงแม้พวกเขาทั้งสองจะค่อนข้างสนิทกันก็ตาม
· ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังจากที่ปรับตัวลงลงในช่วงก่อนหน้านี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกรณีที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิในช่วงครึ่งปีหลังกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อตอบสนองการลดลงของสต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกและราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 1 เซนต์ ที่ระดับ 75.40 เหรียญ/บาร์เล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 10 เซนต์ ที่ระดับ 66.83 เหรียญ/บาร์เรล
· ราคาน้ำมันยังคงทรงตัว โดยจะเห็นได้จากภาวะความเชื่อมั่นในสัญญา WTI ที่ยังคงชะลอตัว ท่ามกลางตลาดหุ้นสหรัฐฯที่เคลื่อนไหวแดนลบ จากข่าวการเมืองในยุโรป ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์มองว่าอาจเห็นราคาน้ำมันอยู่ในเทรนขาลงต่อ หลังจากที่ถูกแรงเทขายเข้ามาในคืนวันศุกร์ หลังมีรายงานว่ารัสเซียและซาอุดิอาระเบียจะทยอยปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่า ตลาดน้ำมันจะผันผวนและอาจติดตามข่าวสต็อกน้ำมันดิบภาคเอกชน หรือรายงานจาก API ประกอบด้วยรายงานจาก EIA
นักวิเคราะห์จาก DailyFX วิเคราะห์ทิศทางน้ำมันไว้ว่า น่าจะยังทรงตัวในกรอบระหว่าง 66.22 - 67.36 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นกรอบล่างของระดับราคา โดยหากทองคำหลุดต่ำกว่าระดับดังกล่าวก็มีโอกาสร่วงลงไปแถวระดับแนวรับช่วงเดือนมิ.ย. ปีที่แล้วระหว่าง 65.51 - 64.21 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่แนวต้านสำคัญจะอยู่บริเวณ 69.53 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 19 เม.ย.