• OECD คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อได้อีก 2 ปี เตือนระวังความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน

    31 พฤษภาคม 2561 | Economic News
 

รายงานจากองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (OECD) ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันดูสดใสมาก แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูญเสียไปได้

โดยข้อมูล GDP ในภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกสามารถขยายตัวในระยะยาวด้วยอัตราประมาณ 4ขณะที่อัตราว่างงานในประเทศสมาชิกกว่า 35 ประเทศ พบว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวได้ในปัจจุบัน คือเรื่องของราคาน้ำมัน ความตึงเครียดทางการค้า และความบอบบางของตลาดการเงินที่อาจไม่สามารถรองรับนโยบายคุมเข้มทางการเงินจากบรรดาธนาคารกลางได้

นายโจส แองเจิล เกอร์เรีย (Jose Angel Gurria) เลขาธิการประจำ OECD ได้ประเมินว่า เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ในปัจจุบันยังคงพึ่งพานโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำรวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ นั่นจึงหมายความว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงที่จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน

“เราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกยังสามารถขยายตัวต่อได้อีก 2 ปี ขณะที่ภาพการขยายตัวในระยะสั้นก็อยู่ในระดับดีที่สุดในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวยังพึ่งพานโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ บ่งชี้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจในปัจุบันยังคงไม่ใช่การเติบโตที่แท้จริง”

สำหรับราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรดานักวิเคราะห์ส่วนมากที่คาดว่าราคาจะปรับขึ้นไปถึงระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล จึงอาจกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวได้รวดเร็ว และกดดันการขยายตัวของภาคครัวเรือน

ท่ามกลางภาวะที่บรรดาธนาคารกลางต่างๆเริ่มส่งสัญญาณจะทยอยออกจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินและปรับขึ้นภาษี โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบ หลังจากที่ได้รับแรงหนุนจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินมาติดต่อกันหลายปี ประกอบกับอัตราหนี้สินที่ก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆทั้งในมากเอกชนและภาครัฐที่ล้วนอยู่แต่ในระดับสูงสุดในรอบหลายปี ขณะที่บรรดาตลาดเกิดใหม่ที่พึ่งพาสกุลเงินจากต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่กำลังก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ ในการที่จะป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงที่กล่าวมา OECD ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการเร่งปฏิรูปพื้นฐานของระบบการเงินของแต่ละประเทศ และออกนโยบายที่สนับสนุนการเติบโตของทักษะแรงงานและกระตุ้นปริมาณการผลิตในประเทศ รวมถึงเพิ่มการลงทุนในภาคเทคโนโลยี


ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com