• ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลง 251.94 จุด คิดเป็น -1.02% ที่ระดับ 24,415.84 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด -0.69% ที่ระดับ 2,705.27 จุด และดัชนี Nasdaq ปิด -0.27% ที่ระดับ 7,442.12 จุด
ภาพรวมเดือนพ.ค. ดัชนี S&P500 ปิดปรับขึ้นได้ 2.16% ขณะที่ดาวโจนส์ขยับขึ้น 1.05% และ Nasdaq พุ่งไป 5.32%
อย่างไรก็ดี เมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลดลง หลังจากที่สหรัฐฯจะทำการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดา เม็กซิโกและอียู และอาจำทหเกิดมาตรการตอบโต้ทางการค้าจากประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯด้วย
• รายงานจากรอยเตอร์สชี้ว่า นักลงทุนกำลังวิตกกังวลต่อนโยบายการค้า จึงกดดันให้ดัชนีราคาหุ้นทั่วโลกอ่อนตัวลง แม้ว่าภาวะตึงเครียดทางการเมืองในอิตาลีจะเบาบางลงไป
• ตลาดหุ้นเอเชียเปิดร่วงลงจากประเด็นความขัดแย้งทางการค้าที่กลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -0.24% และดัชนี Topix เปิด -0.29% ขณะที่ดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้เปิด -0.05%
• นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ระหว่าง 31.96-32.17 บาท/ดอลลาร์
• ทิศทางเงินเฟ้อในปี 2561 ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนใหญ่จะมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนทั้งพลังงานและแรงงาน มากกว่าจะเป็นผลจากความต้องการใช้จ่ายของผู้บริโภค อย่างไรก็ดี หากภาพเศรษฐกิจไทยสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ดีต่อเนื่องและมีการกระจายการเติบโตให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ก็น่าจะส่งผลให้ภาพการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นสัญญาณบวกต่อภาพกำลังซื้อในประเทศ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2560 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เนื่องจากราคาอาหารสดปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาด แต่จากราคาพลังงานในประเทศที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตก็เป็นปัจจัยที่เป็นแรงหนุนของเงินเฟ้อในปี 2560
ทิศทางอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2561 คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ตามทิศทางราคาพลังงานและต้นทุนแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้น