· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบเดือน 11 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีภาวะตึงเครียดทางการค้าเป็นปัจจัยเข้ากดดันต่อค่าเงินอยู่ก็ตาม โดยดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวบริเวณ 94.994 จุด หลังจากที่เมื่อวานทำระดับสูงสุดบริเวณ 95.299 จุด ทางด้านค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1584 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินเยนอยู่ที่ 110.11 เยน/ดอลลาร์
· นายวิลเบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯจะยังเดินหน้ากดดันจีนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้อตดลงต่อการที่ชาวอเมริกาจะได้เข้าถึงตลาดจีน รวมทั้งการปรับลดยอดเกินดุลที่เกิดขึ้นทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ
· ความตึงเครียดทางการค้าที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้น ดูเหมือนจะมีผลต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากมุมมองของบรรดาธนาคารกลางขนาดใหญ่ ที่อาจส่งผลให้มีการปรับลดมุมมองแนวโน้มการขยายตัวของพวกเขาลงได้
โดยนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆสำหรับข้อตกลงหลักในนโยบายทางการค้า อาจเป็นสาเหตุให้เฟดต้องตั้งคำถามต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นลำดับต่อไป
อย่างไรก็ดี เมื่อวานนี้ ประธานเฟด ประธานอีซีบีและประธานบีโอเจ ที่มีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงก็ไม่ได้มีการส่งสัญญาณใหม่ๆเกี่ยวกับมุมมองในการดำเนินนโยบายของพวกเขา
· นายวิลบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์แห่งสหรัฐฯ เปิดเผยว่าทางกระทรวงฯกำลังดำเนินการตรวจสอบกรณีที่ราคาเหล็กเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันและเพิ่มขึ้นมากกว่าผลกระทบที่เกิดจากนโยบายขึ้นภาษีเหล็กและอลูเนียมที่ได้ประเมินไว้ ว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ “การเก็งกำไรอย่างผิดกฏหมาย” หรือไม่
· สำนักข่าว CNBC รายงานผลสำรวจจากบริษัท Rhodium Group โดยระบุว่า ภาคธุรกิจและการลงทุนของจีนในสหรัฐฯปรับตัวลงกว่า 92% คิดเป็น 1.8 พันล้านเหรียญในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ขณะที่การถอนเม็ดเงินลงทุนหรือการขยายบริษัทสุทธิน่าจะอยู่ที่ระดับติดลบ 7.8 พันล้านเหรียญ
โดยเป็นการปรับลดลงติดต่อกันจากช่วงครึ่งปีหลังของปี 2017 โดยได้รับผลกระทบมาจากการที่จีนและทีมบริหารของนายทรัมป์ มีความขัดแย้งกันในเร่องของการลงทุนระหว่างประเทศหรือทางการค้า
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกการลงมติร่างนโยบายผู้อพยพที่จะเป็นการแยกตัวเด็กออกจากครอบครัวของผู้อพยพ ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงอย่างมากภายในสหรัฐฯ
· ผลสำรวจโดย Reuters พบว่านักวิเคราะห์ส่วนมากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษหรือบีโออี มีแนวโน้มที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ส.ค. หลังจบการประชุมในวันนี้เวลาประมาณ 18.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจของอังกฤษ
· สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นเกือบ 2% ท่ามกลางสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลงเกินคาด ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงก่อนประชุมโอเปในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ที่ผลการประชุมอาจมีการปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันได้
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ค. ที่หมดอายุลงไปเมื่อวานนี้ปิดปรับขึ้น 1.5 เหรียญ คิดเป็น 1.8% ที่ระดับ 66.22 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านสัญญาส่งมอบเดือนส.ค. ปิดปรับขึ้น 81 เซนต์ ที่ระดับ 65.71 เหรียญ/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนส.ค. ปิดลดลง 34 เซนต์ คิดเป็น -0.5% ที่ระดับ 74.74 เหรียญ/บาร์เรล
· ตลาดน้ำมันเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดกับทิศทางการขนส่งน้ำมัน หลังรัฐบาลจีนประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐฯและสินค้าอื่นๆอีก 25% เพื่อเป็นการตอบโต้สหรัฐฯที่ได้ประกาศขึ้นภาษีจากจีนก่อน โดยการขึ้นภาษีน้ำมันสหรัฐฯอาจส่งผลต่อการขนส่งน้ำมันของสหรัฐฯสู่จีนที่มูลค่าการขนส่งต่อเดือนกว่า 1 พันล้านเหรียญ หรือ 330,000 บาร์เรล/วัน