• ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.5% ใกล้ระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของเยอรมนี ขณะที่การแข็งค่าดังกล่าวยังคงเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากตลาดยังคงรอรายงานประชุมเฟดคืนนี้
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นมาบริเวณ 1.1711 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้กับระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์บริเวณ 1.1722 ดอลลาร์/ยูโร
ยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีปรับขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ค. หลังจากที่ร่วงลงไปติดต่อกัน 4 เดือน ท่ามกลางอุปสงค์จากกลุ่มลูกค้าภายในประเทศ และยูโรโซนที่เพิ่มขึ้น
รายงานจากสื่อหลายแห่ง ระบุว่า อีซีบีอาจกำลังเตรียมการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าประมาณเดือนก.ย. หรือ เดือนต.ค. ประเด็นนีี้จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อค่าเงินยูโร
ค่าเงินหยวนทรงตัวบริเวณ 6.6466 หยวน/ดอลลาร์ หลังจากที่วันอังคารอ่อนค่าไปทำระดับสูงสุดรอบ 11 เดือนบริเวณ 6.7344 หยวน/ดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง 0.34% แตะระดับ 94.34 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของสัปดาห์นี้
• รัฐบาลจีนกล่าวตำหนิสหรัฐฯเกี่ยวกับนโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า โดยระบุว่าสหรัฐฯเป็นผู้เริ่มก่อสงครามทางการค้าที่อาจขยายความรุนแรงไปทั่วโลก พร้อมยืนยันว่าทางการจีนจะทำการตอบโต้นโยบายภาษีทันทีที่นโยบายมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ รายงานล่าสุดจาก Reuters เปิดเผยว่านโยบายภาษีจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเที่ยงวันตามเวลาประเทศจีน หรือประมาณ 11 โมงของวันศุกร์ตามเวลาประเทศไทย
• ตลาดโลกกำลังเตรียมตัวรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังนโยบายขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ภายในวันศุกร์นี้ โดยที่มีนักวิเคราะห์จากหลากหลายสถาบันได้ประเมินเสี่ยงจากนโยบายดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้
• Sean Callow นักวิเคราะห์จาก Westpac ประเมินว่าตลาดได้เตรียมตัวรับมือกับนโยบายภาษีนี้กันโดยพร้อมเพียงแล้ว แต่ก็มีโอกาสที่ผลกำไรของบรรดาบริษัททั้งในสหรัฐฯและจีนจะได้รับผลกระทบบางส่วน
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือแนวโน้มต่อไปของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เนื่องจากสหรัฐฯยังเตรียมแผนที่จะปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนเป็นมูลค่าอีกกว่า 4 แสนล้านเหรียญ หากทางจีนทำการตอบโต้นโยบายภาษีในวันศุกร์นี้
• Iris Pang นักวิเคราะห์จาก ING China ประเมินว่า ค่าเงินหยวน รวมถึงตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงจะเผชิญกับแรงกดดันหากทางรัฐบาลจีนออกมาตรการมาตอบโต้สหรัฐฯ
• Qi Gao นักวิเคราะห์จาก Scotiabank ระบุว่า ควรจับตารายงานการประชุมเฟดที่จะเปิดเผยในค่ำคืนนี้ รวมถึงการตอบโต้ของจีนที่มีต่อนโยบายภาษีของสหรัฐฯ
โดยหากรายงานการประชุมเฟดส่งสัญญาณเกี่ยวกับการหันมาคุมเข้มทางนโยบายการเงิน ในขณะที่สหรัฐฯทำการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนมากขึ้น ก็มีโอกาสจะเกิดแรงเข้าซื้อในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นทั่วโลก จึงอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินในตลาดเอเชียรวมถึงเงินหยวน
• สถาบัน Pictet Asset Management วิเคราะห์ว่า นโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อบรรดาผู้บริโภคโดยตรง และมีโอกาสที่จะทำให้ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต้องชะลอตัวลง รวมถึงอาจทำให้ผลกำไรของบริษัทต่างๆทั่วโลกร่วงลงถึง 2%
ทั้งนี้ บรรดาประเทศที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบเทียบเท่าหรือหนักกว่าสหรัฐฯ อาจเป็นประเทศที่มีสายการผลิตรองลงมาอย่างไต้หวัน ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก และสิงคโปร์
• กองทุนเงิน IMF ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2018 ลงสู่ระดับ 2.2% โดยมีปัจจัยความเสี่ยงมาจากนโยบายเชิงกีดกันการค้าของสหรัฐฯ และโอกาสเกิดHard Brexit หรือการที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่หาสามารถข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้เสียก่อน
ทั้งนี้ IMF ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2018 ลงสู่ระดับ 2.2% จากเดิมที่ 2.5% แต่ปรับเพิ่มคาดการณ์ของปี 2019 สู่ระดับ 2.1% จากเดิม 2.0%
IMF ได้ระบุว่า การก่อตั้งพรรคร่วมรัฐบาลของนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศ มีแนวโน้มจะสามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนีในระยะยาวได้
• รายงานจาก CNBC ยังระบุอีกว่า สหภาพยุโรปกำลังศึกษาแนวทางเพื่อหลีกเลี่ยงความตึงเครียดทางการค้ากับทางสหรัฐฯ โดยรายงานในช่วงต้นสัปดาห์ บ่งชี้ว่า อียูอาจมีการยื่นข้อเสนอให้แก่กลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรํฐฯจะทำการเรียกเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ยุโรปสูงถึง 25%
• ประธานรัฐมนตรีกระทรวงการคลังประจำกลุ่ม 19 ประเทศภูมิภาคในแถบยูโรโซน ระบุว่า ประเด็นความเสี่ยงทางการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้ยูโรโซนต้องหันมาประเมินว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างไร เนื่องจากประเด็น Trade War เป็นความเสี่ยงหลักที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและยุโรป
จะเห็นได้ว่า การขยายตัวของยูโรโซนในปี 2017 นั้นสามารถขยายตัวได้ที่ 2.4% แต่ภาพการขยายตัวที่ผ่านมาเริ่มชะลอตัวลงในช่วงเริ่มต้นปี 2018 และประเด็นกำแพงภาษีที่เพิ่มขึ้นที่อาจยิ่งบั่นทอนการขยายตัวในอนาคตได้
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทวีตว่าต้องการให้ปรับลดราคาน้ำมันดิบลง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 0.7% ที่ระดับ 77.70 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 0.5% ที่บริเวณ 73.77 เหรียญ/บาร์เรล
· รายงานจาก CNBC เผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำการเผยข้อเรียกร้องใหม่กับผู้นำด้านการผลิตน้ำมันระดับโลกเพื่อร่่วมสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาดน้ำมัน ท่ามกลางภาวะอุปทานที่เพิ่มขึ้น โดยนายทรัมป์ เรียกร้องให้มีการปรับลดราคาน้ำมัน เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคต่อสต็อกน้ำมันและทำให้อุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้น