• นักวิเคราะห์จาก TD Securities คาดหวังว่าข้อมูล CPI เดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯน่าจะยังทรงตัว แต่ก็มีโอกาสจะปรับตัวลงได้ตามรายงาน PPI ซึ่งข้อมูล CPI ที่จะออกมา คาดว่าไม่น่าจะส่งผลให้เฟดเปลี่ยนใจต่อแนวทางการคุมเข้มทางการเงิน และเราต้องรอดูสัญญาณว่าจะมีการขยายตัวขึ้นได้หรือไม่ เพราะหากทิศทางยังเป็นบวกก็มีโอกาสเห็นค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นได้และช่วยจำกัดภาวะอ่อนค่าของดอลลาร์ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
• รายงานจาก CNBC ระบุว่า ถึงแม้ทางรัฐบาลจีนจะมีการออกมาข่มขู่หากสหรัฐฯทำการขึ้นภาษีอีกครั้งจริง พวกเขาก็จะมีการออกมาตรการมาตอบโต้เหมือนคราวก่อน แต่รัฐบาลจีนก็ได้ช่วยเหลือบรรดาเกษตรกรและผู้ประกอบการในประเทศให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง และวัตถุดิบอื่นๆที่จะลดลง พร้อมยังประกาศจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมรายใหญ่ในประเทศ
• เกาหลีใต้เตือน ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน อาจส่งผลกระทบถึงสินค้าส่งออกของเกาหลีใต้ที่ถูกใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสาร
• ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด ขณะที่มีสมาชิกบอร์ด 1คน ออกเสียงสนับสนุนให้ธนาคารกลางพิจารณาคุมเข้มนโยบายาการเงิน ธนาคารกลางเกหาลีใต้จึงมีแนวโน้มที่จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในเดือนต่อๆไป
• รัฐบาลจีนมีแนวโน้มสูงที่จะอนุมัติการนำเข้ายาสำหรับใช้ในการแพทย์ที่ผลิตในอินเดีย เนื่องจากจีนกำลังมองหาคู่ค้ารายใหม่ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ
ขณะที่ทางบรรดาผู้ประกอบการในอินเดีย กำลังมองหาช่องทางที่จะเข้ามาเติมเต็มอุปสงค์ของประเทศจีนในสินค้ากลุ่ม ยาทางการแพทย์ ซอฟแวร์ น้ำตาล และเมล็ดข้าวพันธ์ต่างๆ
• ปริมาณการส่งออกน้ำมันของสหรัฐฯสู่อินเดียขยายตัวสู่ระดับสูงสุดในรอบปี เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าในปีที่ผ่านมาเกือบเท่าตัว ท่ามกลางบรรดาผู้ประกอบการในเอเชียที่มองหาแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ก่อนที่ปริมาณการส่งออกน้ำมันของอิหร่านและเวเนซูเอลาจะลดลงท่ามกลางการคว่ำบาตรและปัญหาภายในประเทศ
สหรัฐฯกำลังดำเนินการกดดันประเทศพันธมิตรให้ลดปริมาณส่งออกน้ำมันสู่อิหร่านเหลือ 0 บาร์เรลภายในเดือน พ.ย. ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐฯที่สูงขึ้นในอินเดีย อาจมีส่วนช่วยในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
• ราคาน้ำมันเริ่มฟื้นตัว หลังจากปรับร่วงลงไปในช่วงตลาดก่อนหน้าที่เกิดจากการที่ลิเบียประกาศว่าจะเริ่มกลับมาผลิตและส่งออกน้ำมันต่อ
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 1.9% บริเวณ 74.77 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ปรับลดลงไป 5.46 เหรียญ หรือ 6.9% ในช่วงตลาดก่อนหน้า
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับสูงขึ้น 25 เซนต์ บริเวณ 70.63 เหรียญ หลังปรับลดลงไป 5% ในช่วงตลาดก่อนหน้า