· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับสูงสุดรอบ 10 วันทำการ โดยได้รับอานิสงส์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับขึ้นตามกระแสคาดการณ์ที่ว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯจะปรับตัวขึ้น หลังข้อมูล CPI ยังบ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยได้ตามจำนวน 4 ครั้งปีนี้
ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นมาบริเวณ 94.875 จุด หลังจากที่ปิดที่ระดับ 94.941 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดรอบ 10 วันทำการ ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับแข็งค่ามา 0.9%
ประธานจาก FPG Securities ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าสัปดาห์นี้ท่ามกลางความกังวลทางการค้าที่ปรับขึ้นต้นสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจยังคงบ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นได้ช่วยหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่า
ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าทำระดับสูงสุดรอบ 6 เดือน บริเวณ 112.775 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ข้อมูลซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 112.66 เยน/ดอลาร์ และโดยภาพรวมค่าเงินเยนสัปดาห์ที่ปรับอ่อนค่าได้ประมาณ 2% ซึ่งถือเป็นระดับอ่อนค่ารายสัปดาห์ที่มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนก.ย.
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง และเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในวันนี้บริเวณ 1.1662 ดอลลาร์/ยูโรหลังจากที่เมื่อวันจันทร์ขึ้นไปทำระดับสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ครึ่งบริเวณ 1.17905 ดอลลาร์/ยูโร และภาพรวมรายสัปดาห์ปรับอ่อนค่าไปประมาณ 0.6%
· ยอดสั่งสินค้านำเข้าสู่ท่าเรือในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือน มิ.ย. บ่งชี้ว่าบรรดาผู้ค้าปลีกเพิ่มการสั่งซื้อสินค้า ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าที่อาจส่งผลให้สินค้าบริโภคนำเข้ามีราคาสูงขึ้นจากการขึ้นภษี
โดยยอดสั่งซื้อสินค้าสู่สหรัฐฯในเดือน มิ.ย. ขยายตัว 6.3% จากปีก่อนหน้า หลังจากชะลอตัวลง 6.9% ในเดือน พ.ค. และ 3.9% ในเดือน เม.ย.
· ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. ขยายตัวได้ท่ามกลางปริมาณอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากทั่วโลกสำหรับสินค้าในกลุ่ม Semiconductors และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม อัตราการส่งออกและนำเข้ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวด้วยอัตราที่เบาบางลง
ทั้งนี้ แบบสำรวจโดย Reuters ประเมินว่าปริมาณส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ 7.0% จากปีก่อนหน้า เทียบกับที่ขยายตัวได้ 8.1% ในเดือน พ.ค.
· สำหรับปริมาณนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ 5.3% ลดจาก 14.0% ในเดือน พ.ค. ซึ่งจะทำให้ยอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นขยายตัวสู่ระดับ 5.342 แสนล้านเยน (4.75 พันล้านเหรียญ)
· ในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ วันที่ 30-31 ก.ค. นี้ บีโอเจมีแนวโน้มจะยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศจะยังไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ 2% ภายในปีนี้ และอาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปีหรือมากกว่า
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่าบีโอเจจะปรับคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับปี 2018 อยู่ที่ระดับ 1.3% ตามมาด้วยระดับ 1.8% สำหรับปี 2019 และ ปี2020
· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะขอความร่วมมือจากนายวลาดิเมีย ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เกี่ยวกับการกดดันให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธ ระหว่างการพบกันระหว่างทั้ง 2 ผู้นำที่จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์หน้า
· หนังสือพิมพ์ Global Times รายงานว่า เครือโรงแรม Modern Classic Hotel Group ในกรุงเซินเจิ้นของประเทศจีน มีแผนที่จะขึ้นอัตราค่าบริการสำหรับลูกค้าชาวสหรัฐฯอีก 25% ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ
· รายงานจาก Le Figaro ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ที่ขอให้สหรัฐฯพิจารณายกเว้นการคว่ำบาตรสำหรับบริษัทฝรั่งเศสที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับอิหร่าน
· รายงานจาก Reuters ระบุว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีนที่มีกับสหรัฐฯขยายตัวมากยิ่งขึ้นในเดือน มิ.ย. จึงอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ประเทศให้เลงร้ายลง
โดยยอดเกินดุลการค้าของจีนที่มีกับสหรัฐฯขยายตัวสู่ระดับ 2.897 หมื่นล้านเหรียญ จากเดิมในเดือน พ.ค. ที่ 2.458 หมื่นล้านเหรียญ
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางตลาดที่มีความผันผวนในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ภาพรวมรายสัปดาห์น้ำมันดิบ Brent และ WTI ปรับตัวลดลง แม้ว่าจะมีภาวะอุปทานที่เพิ่มขึ้นก็ตาม
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ลดลง 35 เซนต์ ที่ระดับ 74.10 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 12 เซนต์ ที่ระดับ 70.21 เหรียญ/บาร์เรล