หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ความขัดแย้งทางการค้าทั่วโลกก็ได้ขยายเป็นวงกว้างและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยหลายๆประเทศมีการข่มขู่จะขึ้นภาษีตอบโต้ ขณะที่ทางสหรัฐฯได้เล็งเป้าหมายต่อไปที่อุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากนายทรัมป์ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบหากขึ้นภาษีรถยนต์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากยุโรป เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา
การขึ้นภาษีรถยนต์มีแนวโน้มที่จะสร้างผลกระทบในเชิงลบให้กับหลายๆประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เม็กซิโก, และแคนาดา ซึ่งล้วนมีการส่งออกรถยนต์มากเป็นอันดับแรกๆ
ตารางที่ 1: สัดส่วนของการส่งออกรถยนต์เมื่อเทียบยอดส่งออกทั้งหมดและ GDP
บรรดาประเทศที่กล่าวมาดูจะมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงภาษีรถยนต์เหมือนๆกัน ขณะที่บางประเทศก็ได้เริ่มต้นลดกำแพงทางการค้าของตัวเองเพื่อหาแหล่งพึ่งพาทางเศรษฐกิจ หากเกิดความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯ โดยทางสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้ ได้ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาการค้าที่จะยกเลิกภาษี 1.17 พันล้านเหรียญสำหรับยุโรป และ 2.35 พันล้านเหรียญสำหรับญี่ปุ่น ซึ่งอัตราการผลิตของทั้งญี่ปุ่นในยุโรป เมื่อรวมกันแล้วจะคิดได้เป็น 30% ของยอดการผลิตทั่วโลก
ตารางที่ 2: ยอดส่งออกรถยนต์สู่สหรัฐฯในปี 2017
เมื่อคืนที่ผ่านมา นายวิลบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์แห่งสหรัฐฯ ได้มีการรายงานตนต่อคณะกรรมธิการด้านการเงินแห่งวุฒิสภา เกี่ยวกับการออกนโยบายภาษีนำเข้ารถยนต์ โดยนายรอสได้กล่าวว่า “ยังเร็วเกินไป” ที่จะตัดสินว่านโยบายภาษีรถยนต์มีความจำเป็นที่ต้องใช้หรือไม่
ทั้งนี้ หาก Trade war ยังคงดำเนินต่อไป ก็มีแนวโน้มสูงที่ภาษีรถยนต์จะเป็นประเด็นหลักที่แต่ละประเทศจะนำมาตอบโต้กับ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ยังเป็นอีกหนึ่งหัวข้อหลักที่ยังคงยืดเยื้อในการเจรจาสนธิสัญญา NAFTA