· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทวีตข้อความข่มขู่อิหร่านเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาว่า “อย่าข่มขู่สหรัฐฯ ไม่เช่นนั้นอิหร่านจะประสบกับผลลัพธ์ที่เคยเป็นบทรียนมาแล้วในประวัติศาสตรื สหรัฐฯจะไม่ยอมถูกข่มขู่ด้วยคำพูดที่ส่อถึงความรุนแรงและความตายอีกต่อไป”
ข้อความดังกล่าวของนายทรัมป์เกิดขึ้นหลังนายฮัสสัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน กล่าวเตือนนายทรัมป์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายที่เป็นปรปักษ์ต่ออิหร่าน โดยระบุว่า “หากก่อสงครามกับอิหร่าน จะกลายเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา”
นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งสหรัฐฯ กล่าวตำหนิผู้นำอิหร่านว่าเหมือน “มาเฟีย” และให้สัญญาจะสนับสนุนชาวอิหร่านที่ต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน
โดยนายปอมเปโอ กล่าวปราศัยภายในรัฐแคริฟอเนียร์ โดยที่ผู้เข้าร่วมฟังส่วนมากเป็นชาวอิหร่าน-อเมริกัน ซึ่งนายปอมเปโอได้กล่าวตำหนินายฮัสสัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน และนายจาวัด ซาริฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งอิหร่าน จากการที่พวกเขาพยายามเจรจากับสหรัฐฯและประเทศอื่นๆอีก 5 ประเทศเกี่ยวกับสนธิสัญญานิวเคลียร์
· ประธานบริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาในกรุงเซี่ยงไฮ้ Automobility กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยระบุว่า Trade War ที่กำลังดำเนินไประหว่างสหรัฐฯ-จีน อาจส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ในจีนได้รับผลกระทบ อาทิ บริษัท Tesla ที่จะมีค่าใช้จ่ายในด้านยนตกรรมในตลาดจีนพุ่งสูงขึ้นจากปัญหาการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองประเทศ
ทั้งนี้ จีนมีการเรียกเก็บภาษี 25% จากการนำเข้ารถยนต์ของสหรัฐฯเพื่อตอบโต้สหรัฐฯที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 3.4 หมื่นล้านเหรียญ ที่ประกอบไปด้วยสินค้าเครื่องจักรหรืออะไหล่ยนต์
นอกจากการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว หลายๆแบรนด์สินค้านำเข้ามายังจีนก็อาจมีการทบทวน “Footprint” ของสินค้าดังที่ควรจะเป็นตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การย้ายทำเลที่ตั้งในการผลิตสินค้าจากจีนอาจส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านแรงงานของชาวอเมริกาในภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์อีกด้วย
· นายพลวินเซนต์ บรูคส์ ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพสหรัฐฯในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี เปิดเผยว่า เกาหลีเหนือยังคงครอบครองวัตถุดิบและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการประกอบระเบิดนิวเคลียร์อยู่อย่างครบถ้วน และยังคงไม่มีสัญญาณเกี่ยวกับการปลดอาวุธโดยสมบูรณ์ แม้จะผ่านพ้นการประชุมสุดยอดร่วมกับประธานาธิบดีสหรัฐฯในสิงคโปร์ไปแล้วก็ตาม
· รองผู้อำนวยการสถาบันกำกับดูแลด้านความปลอดภัยแห่งประเทศจีนเปิดเผยว่า ระบบการซื้อขายในดัชนีหุ้นหลักของตลาดจีนจะกลับมาสู่ “ปกติ” ในเร็วๆนี้ ส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่ารัฐบาลจีนกำลังจะยกเลิกข้อจำกัดด้านการซื้อขายอนุพันธ์ที่ถูกใช้จากกรณีที่เกิดเหตุตลาดล่มเมื่อปี 2015
· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งประเทศจีน กล่าวตอบโต้สหรัฐฯ ว่าการข่มขู่ทางการค้าจะไม่มีผลกับประเทศจีน หลังประธานาธิบดีทรัมป์ได้บ่มขู่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเป็นมูลค่าอีก 5 แสนล้านเหรียญ
นอกจากนี้ จีนก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเพื่อหนุนการส่งออกในประเทศแต่อย่างใด
· ราคาน้ำมันค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตที่ชะลอตัวลงเป็นปัจจัยหนุนราคา ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลงจากความขัดแย้งทางการค้าเป็นปัจจัยกดดันราคา
โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 15 เซนต์ บริเวณ 73.22 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ทรงตัวที่ 68.26 เหรียญ/บาร์เรล
· นักวิเคราะห์บางส่วน กล่าวให้สัมภาษณ์กับ CNBC โดยระบุว่า ตลาดน้ำมันมีแนวโน้มจะถูกกดดันมากขึ้นจากเหตุการณ์เหนือความคาดหมายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งสัญญาณล่าสุดเป็นการบ่งชี้ว่าสัญญาน้ำมันดิบอาจเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวนับตั้งแต่ที่มีการเริ่มต้นฟื้นตัว
น้ำมันดิบ Brent ร่วงลงไปเกือบ 9% นับตั้งแต่ที่ขึ้นไปทำระดับสูงสุดในสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณสูงกว่า 79 เหรียญบาร์เรล หลังมีสัญญาณเพิ่มขึ้นว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศโอเปกนั้นเพิ่มสูงขึ้น นำโดยซาอุดิอาระเบีย และสมาชิกในแถบตะวันออกกลางประเทศอื่นๆ และหมายรวมไปถึงกำลังการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากรัสเซียและสหรัฐฯด้วย
นักวิเคราะห์อาวุโสจาก PVM Oil Associates กล่าวว่า ภาวะตึงเครียดทางการเมืองและข้อมูลเศรษฐกิจได้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดน้ำมัน แต่ก็ยังไม่แน่ชัดในช่วงเวลานี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากภาวะสมดุลระหว่าง อุปทานน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น