• ความกังวลเกี่ยวกับแผนของอังกฤษในการออกจากยูโรโซนส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ร่วงลงทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ขณะที่ปัญหาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเป็นปัจจัยที่ยังคงช่วยหนุนต่อค่าเงินดอลลาร์
ถ้อยแถลงของสามาชิกบางรายเกี่ยวกับการยังไม่มีข้อตกลง Brexit ใดๆ ได้จุดประกายให้เกิดความกังวลว่าอังกฤษอาจก้าวออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงทางการค้าใดๆ จึงทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดที่ 1.2917 ดอลลาร์/ปอนด์ ก่อนจะรีบาวน์และปิด -0.5% ที่ระดับ 1.2940 ดอลลาร์/ปอนด์
• ความกังวลที่ว่าอิตาลีจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเงื่อนไขงบประมาณจากทางอียู ขณะที่คำสั่งซื้อภาคโรงงานอุตสาหกรรมของเยอรมนี ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินยูโรร่วงลงไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์บริเวณ 1.1527 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนที่จะปรับขึ้นมาปิดตลาด -0.13% ที่ระดับ 1.1552 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ภาพทางเทคนิคค่าเงินยูโรจะมีแนวรับที่ 1.15 ดอลลาร์/ยูโร และมีแนวโน้มจะเป็นระดับแนวรับสำคัญในอีกหลายวันจากนี้
• จีนประกาศตอบโต้การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯเป็นมูลค่า 6 หมื่นล้านเหรียญ จึงดูเหมือนว่าโอกาสการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเป็นไปได้ยากขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความตึงเครียดทางการค้าน่าจะเป็นเอื้อประโยชน์ให้แก่ค่าเงินดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ฟื้นตัวดีขึ้นจากนโยบายกีดกันการค้า ประกอบกับการปรับขึ้นภาษีอาจช่วยลดช่องว่างของยอดขาดดุลทางการค้ากับสหรัฐฯได้
• นักวิเคราะห์จาก Wells Fargo กล่าวว่า ความตึงเครียดทางการค้าดูจะส่งผลเชิงบวกอย่างมากต่อค่าเงินดอลลาร์ และคาดว่าจะเห็นดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องในช่วงนี้
• นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย. เราจะเห็นได้ว่าค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นมาได้กว่า 6% ขณะที่ค่าเงินในตลาดเกิดใหม่และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (LEMB.K) ร่วงลงไปกว่า 10%ในช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้น 0.24% ที่ระดับ 95.367 จุด หลังจากที่ไปทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปีเมื่อวันที่ 19 ก.ค. บริเวณ 95.652 จุด จึงทำให้ระดับดังกล่าวกลายเป็นแนวต้านแข็งแกร่งทางเทคนิค
• สำหรับปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้ที่บรรดานักลงทุนเฝ้ารอคอยและให้ความสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคที่เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อประจำเดือนก.ค. ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์ โดยมีการคาดการณ์กันว่าจะปรับขึ้นได้ 0.2%
• รายงานจากบลูมเบิร์ก ระบุว่า หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวอ้างจะเพิ่มภาษีทางการค้ากับจีน และทำให้สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนทวีความตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลล่าสุด จีนตอบโต้ผ่านทางสื่อภายในประเทศ โดยระบุว่า จีนพร้อมที่จะรับมือกับผลกระทบที่จะได้รับทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ทางการจีนเตรียมรับมือกับความยืดเยื้อของสงครามการค้า และไม่ได้มีท่าทีกังวลต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น เนื่องจากจีนมองว่าการกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯไม่ได้เป็นไปตามหลักเหตุและผล แต่ดูเหมือนตั้งใจจะทำลายเศรษฐกิจจีนเพื่อบังคับให้จีนกลายเป็นลูกไล่ของสหรัฐฯ
• ยอดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นปรับตัวลง 1.2% ในเดือนมิ.ย.โดยเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 5 เดือน จึงสะท้อนว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจสูญเสียแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่เกิดขึ้นทั่วโลกและอาจบั่นทอนต่อแนวโน้มการส่งออก
• สัญญาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้น หลังจากที่แหล่งข่าวจากโอเปก ระบุว่า ผลผลิตน้ำมันดิบในซาอุดิอาระเบียออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนก.ค. ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันโลก จากการที่สหรัฐฯเตรียมนำมาตรการคว่ำบาตรฉบับเก่ามาใช้กับอิหร่าน
สัญญาน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 54 เซนต์ ที่ระดับ 73.75 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 52 เซนต์ ที่ระดับ 69.01 เหรียญ/บาร์เรล
• ซาอุดิอาระเบียมียอดการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 10.29 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนก.ค. หรือลดลงจากเดือนมิ.ย. ประมาณ 200,000 บาร์เรล/วัน