• ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเมื่อวานนี้ โดยนักลงทุนกำลังให้ความสนใจไปยังประเด็นความตึงเครียดทางการค้า และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังเป็นปัจจัยหนุนต่อค่าเงินดอลลาร์
ดัชนีดอลลาร์ปิดปรับขึ้น 0.4% ที่ระดับ 95.454 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบปี บริเวณ 95.652 จุด เมื่อวันที่ 19 ก.ค. และทำให้ดัชนีดอลลาร์ยืนเหนือ 95.5 จุด
เงินปอนด์ยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง แตะระดับ 1.2879 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากไปแตะระดับ 1.2854 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยได้รับผลกระทบจากกลุ่มนักลงทุนที่กังวลต่อการที่อังกฤษจะออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต
มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ของทางสหรัฐฯได้กดดันให้ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าลง ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับตุรกีที่ว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะวิกฤตก็ได้ส่งผลให้ค่าเงินลีรา ของตุรกีร่วงลงอย่างหนัก แต่ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกชะลอตัวจากความผันผวนในตลาดที่เพิ่มขึ้น
ค่าเงินรูเบิลรัสเซียร่วงลงไป 1% หลังจากที่สหรัฐฯจะประกาศคว่ำบาตรฉบับใหม่ต่อรัสเซีย และส่งผลให้รูเบิลทำระดับตำสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2016 บริเวณ 66.7099 ดอลลาร์/รูเบิล หลังจากที่ช่วง 2 วันก่อนหน้าค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าลงไปแล้วกว่า 4%
• จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯปรับตัวลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว จึงยังบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและหนุนตลาดแรงงาน ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้าอื่นๆ โดยผู้ขอรับสวัสดิการลดลง 6,000 รายที่ระดับ 213,000 ราย
• นายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยังมีการขยายตัวที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 หรือ 2 ครั้งในปีนี้
• บริษัทเยอรมนีดูเหมือนจะได้รับผลกระทบเพิ่มจากนโยบายคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ประกอบไปด้วย การคว่ำบาตรอิหร่าน และแผนการเก็บภาษีทางการค้าที่สร้างความตึงเครียดกับจีน
• ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากที่ชะลอตัวลงในไตรมาสแรก ท่ามกลางค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ฟื้นตัว แต่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่นอาจสร้างความเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นและแนวโน้มการลงทุน
โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.4% ในช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. หลังจากที่ชะลอตัวไป 0.6% ในไตรมาสแรก
• รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเม็กซิโก เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ในกระทรวงกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามหาข้อตกลงในการเจรจาร่วมกับสหรัฐฯเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งหากการเจรจาครั้งนี้สำเร็จ อาจเป็นการช่วยให้แคนาดายินยอมที่จะกลับมาร่วมการเจรจาในสนธิสัญญา NAFTA ระหว่างทั้ง 3 ประเทศได้
ทั้งนี้ หลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเม็กซิโกได้เจรจากับนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯ เป็นวันที่สอง เขาได้ระบุว่าการเจรจา “มีความคืบหน้า” แม้จะไม่มีความชัดเจนว่าการเจรจาจะประสบความสำเร็จเมื่อไหร่ก็ตาม
• รัฐบาลเกาหลีเหนือกล่าวตำหนิสหรัฐฯ จากการที่สหรัฐฯพยายามกดดันเกาหลีเหนือผ่านการคว่ำบาตรจากนานาประเทศ แม้ว่าทางเกาหลีเหนือจะได้แสดงเจตนาที่ดีผ่านการปลดอาวุธนิวเคลียร์ตามที่ให้สัญญาเอาไว้ก็ตาม
• ขณะที่กระทรวงต่างประเทศแห่งเกาหลีเหนือยืนยันว่า พวกเขาได้หยุดทดสอบขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมทั้งทำลายสถานที่ทดสอบและพัฒนาอาวุธ และส่งคืนร่างของทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเหนือกลับประเทศตามที่ตกลงกับสหรัฐฯ
• ราคาน้ำมันดิบปิดลดลงจากความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่น่าส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 21 เซนต์ ที่ระดับ 72.07 เหรียญ/บาร์เรล น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 13 เซนต์ ที่ระดับ 66.81 เหรียญ/บาร์เรล