บรรดานักลงทุนมักจับตาการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด เพื่อหาสัญณาณว่าทิศทางต่อไปของเศรษฐกิจโลกจะดำเนินไปในทิศทางใด
แต่ในปัจจุบัน ตลาดเริ่มหันมาสนใจแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศจีนกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เพื่อหาสัญญาณว่าทิศทางของเงินลงทุนจากประเทศจีนจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด
อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนนั้นแตกต่างและมีความซับซ้อนกว่าของเฟดอย่างมาก
โดยธนาคารกลางจีนมีการใช้เครื่องมือ 7 อย่างดังต่อไปนี้ ในการควบคุมภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
1. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open market operations, OMO)
ในเศรษฐกิจจีน กระบวนนี้จะประกอบด้วย 2 ขั้ตอน คือการซื้อคืน และข้อตกลงในการซื้อคืน เพื่อเป็นช่วยลดความคล่องตัวออกจากระบบในขณะที่ทางธนาคารกลางทำการขายพันธบัตรระยะสั้นให้กับธนาคารพาณิชย์บางแห่ง
2. อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (Required Reserve Ratio, RRR)
เป็นการกำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำของเงินทุนสำรองที่แต่ละธนาคารต้องถือครองไว้ หากทางธนาคารกลางมีการประกาศลดการถือครอง นั่นหมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะสามารถปล่อยเงินกู้ให้กับภาคธุรกิจหรือนิจิบุคคลได้มากขึ้น และยังถือเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยไปด้วย
3. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Benchmark interest rates)
ในแต่ละปีทางธนาคารกลางจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยเงินกู้และการกู้ยืม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคธนาคาร ธุรกิจ และนิติบุคคล
4. ช่วงซื้อลด (Rediscounting)
ทางธนาคารกลางได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถ “เปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด” สำหรับเงินกู้ที่ปล่อยให้กับผู้กู้ยืมได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวให้กับภาคธนาคาร
5. ธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing lending facility, SLF)
เป็นนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางประกาศใช้เมื่อปี 2013 โดยระยะเวลาของการกู้ยืมแบบนี้จะอยู่ที่ 1-3 เดือน ซึ่งมากกว่าการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน
6. ธุรกรรมให้กู้ยืมสภาพคล่องระยะกลาง (Medium-term lending facility, MLF)
ภาคธนาคารกลางพาณิชย์สามารถกู้ยืมได้โดยที่มีกรอบระยะเวลาให้มากขึ้น โดยปกติจะอยู่ที่ระหว่าง 3 เดือน – 1 ปี โดยเป็นนโยบายที่ประกาศใช้เมื่อปี 2014 เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถกระตุ้นความคล่องตัวในระบบธนาคารได้มากขึ้น รวมถึงควบคุมอัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมระยะยาว
7. ธุรกรรมให้กู้ยืมแบบมีข้อผูกมัด (Pledged supplementary lending, PSL)
หนึ่งในนโยบายการเงินใหม่ล่าสุดของธนาคารกลางจีน โดยวัตถุประสงค์ของ PSL คือการเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยระยะยาวและเงินทุนสำรอง เงินทุนเหล่านี้จะถูกอัดฉีดให้กับธนาคารพาณิชย์ที่กำหนดเพื่อให้เป็นแหล่งเงินกู้ยืมสำหรับภาคธุรกิจบางประเภทโดยเฉพาะ เช่น ภาคการเกษตร หรือธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งธนาคารที่จะได้รับเงินทุนในส่วนนี้จะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน, ธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งประเทศจีน, และ ธนาคารเพื่อนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศจีน
ที่มา : CNBC