• ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ในวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคาปรับลงจากระดับสูงสุดรอบ 13 เดือนที่ทำไว้ในช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางอุปสงค์ค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ที่ปรับตัวลง ประกอบกับแรงเทขายทำกำไรที่เข้ามาในตลาด ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง 0.56% ที่ระดับ 96.107 จุด และส่งผลให้ภาพรวมรายวันปรับตัวลงใกล้ระดับต่ำสุดในรอบเกือบเดือน
ค่าเงินยูโรรีบาวน์กลับจากระดับต่ำสุดรอบกว่า 13 เดือนที่ทำไว้ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยวันศุกร์ปิด +0.59% แข็งค่าขึ้นมาที่ 1.1442 ดอลลาร์/ยูโร
• กรรมการผู้จัดการด้าน FX Strategy จากสถาบัน BK Asset Management กล่าวว่า มีการเข้าซื้อค่าเงินดอลลาร์อย่างหนาแน่นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางนักลงทุนที่เลือกให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างดอลลาร์กลายเป็น Safe-Haven ขณะที่กลุ่มนักลงทุนมีการปิดสถานะ Short ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงทำให้เราเห็นความผันผวนในตลาด
• ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนได้ส่งผลให้เหล่าเทรดเดอร์มีการเทขายค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ เพื่อหันเข้ามาถือครองค่าเงินดอลลาร์แทน
• สัปดาห์นี้ตลาดให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่อาจช่วยบรรเทาความตึงเครียดที่เกิดขึ้นบางส่วนลงได้
• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 11 เดือนในช่วงต้นเดือนส.ค. จากความกังวลของภาคครัวเรือนเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ จึงสะท้อนถึงความเป็นไปได้ที่อาจเห็นการชะลอตัวในการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภค
ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. ปรับตัวลงเกินคาดแตะระดับ 95.3 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ก.ย. ปี 2017 โดยลดลงจากระดับ 97.9 จุดในเดือนก.ค.
• รายงานจากหนังสือพิมพ์ Straits Times รายงานว่า นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน มีกำหนดการจะเดินทางเยือนเกาหลีเหนือในเดือนหน้าตามคำเชิญของ นายคิม จอง อุน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือเพื่อร่วมงานเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีสำหรับการก่อตั้งเกาหลีเหนือ
• ธนาคารกลางของประเทศกาตาร์ และตุรกี มีการลงนามข้อตกลงการแกลเปลี่ยนค่าเงินเพื่อเตรียมเสริมสภาพคล่องและเกื้อหนุนเสถียรภาพของระบบการเงิน ภายหลังจากที่กาตาร์ให้คำมั่นว่าจะให้การสนับสนุนด้วยเม็ดเงิน 1.5 หมื่นล้านเหรียญ
• รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของเยอรมนี กล่าวว่า วิกฤตค่าเงินตุรกีได้เพิ่มความเสี่ยงให้แก่เศรษฐกิจของเยอรมนีท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะออกอียูโดยปราศจากข้อตกลงใดๆ
ทั้งนี้ เยอรมนีถือเป็นประเทศที่มีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากอยู่ในตุรกี ซึ่งเป็นความสำคัญสำหรับการค้าในอียู
• ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวขึ้น แต่ภาพรวมปรับลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะ Oversupply ที่อาจกดดันตลาดน้ำมันสหรัฐฯ ขณะที่ข้อขัดแย้งทางการค้าและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกอาจเป็นอุปสรรคต่ออุปสงค์น้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 7 สัปดาห์โดยสัปดาห์ที่แล้วปรับลง 2.6% ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยภาพรวมปรับลงไปอีก 1.4% ขณะที่คืนวันศุกร์น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้นได้ 40 เซนต์ คิดเป็น +0.6% ที่ระดับ 71.83 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปแตะระดับสูงสุดบริเวณ 72.49 เหรียญ/บาร์เรลได้ในช่วงต้นตลาด
น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 45 เซนต์ คิดเป็น +0.7% ที่ระดับ 65.91 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ช่วงต้นตลาดไปทำ High บริเวณ 66.39 เหรียญ/บาร์เรล
• นักวิเคราะห์จาก Tyche Capital ประจำกรุงนิวยอร์ก กล่าวว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ตลาดกังวลมากที่สุด มาจากจำนวนอุปสงค์ขของจีนที่ดุจะปรับลดลง หากว่าจีดีพีจีนมีการชะลอตัวนั่นเอง