· ดัชนี S&P 500 สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้อีกครั้งในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางแรงหนุนจากข่าวการเจรจาระหว่างสหรัฐฯและจีนที่จะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้ สำหรับการเทรดในคืนนี้ คาดว่าดัชนีจะสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างคึกคักเช่นเดิม โดยหากดัชนีมีการย่อตัวในระยะสั้น นั่นก็จะเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการเข้าซื้อ และจะมีแนวรับหลักอยู่ที่ระดับ 2,800 จุด ดังนั้น โอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้นได้อีกในคืนนี้ จึงมีอยู่ค่อนข้างสูง เว้นเสียแต่ความตึงเครียดเกี่ยวกับ Trade war จะกลับมาอีกครั้ง สำหรับภาพรวมในระยะยาว คาดว่าราคาจะสามารถปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงระดับ 2,900 จุด และอสจถึงระดับ 3,000 จุด ท่ามกลางปัจจัยเชิงบวกหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มของ Trade war ที่อาจผ่อนคลายลง
· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่รอคอยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากเปิดตลาด ขณะที่ตลาดส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก
· ตลาดเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่รอคอยการเจรจาระหว่างผู้แทนสหรัฐฯและจีน รวมทั้งการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดของค่าเงินหยวน
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้น 0.6%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ท่ามกลางหุ้นกลุ่มไมโครชิพที่ร่วงลง ตามการปรับลดลงของตลาดสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่การซื้อขายค่อนข้างเบาบางเนื่องจากนักลงทุนรอคอยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei ลดลง 0.3% ที่ะรดับ 22,199.00 จุด
· ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง หลังจากรายงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีนเรียกประะชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด
ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 1.1% ที่ะรดับ 2,688.97 จุด
· สภาพัฒน์ คงคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.2-4.7% ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัว 3.9% และ 3.3% ในปี 60 และปี 59 ตามลำดับ แต่มีการปรับองค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในครึ่งแรกของปี 61 และการปรับเปลี่ยนสมมติฐานการประมาณการที่สำคัญ
โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกและภาคการผลิตส คัญๆ ขยายตัวในเกณฑ์ดี,การใช้จ่ายภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ดีและเพิ่มขึ้น,การฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน และการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 10.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัว 4.1% และ 4.4% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.9-1.4% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 8.4% ของ GDP
สภาพัฒน์ระบุว่า แม้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ถึง 4.8% แต่การขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 61 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 3/61 มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม และสถานการณ์อุทกภัยมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลผลิตภาคเกษตรในไตรมาสสุดท้ายของปีขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยทั้งปี 61 ยังคงขยายตัวอยู่ในช่วง 4.2-4.7% โดยมีค่ากลางของการประมาณการ 4.5% เท่ากับการประมาณการในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พ.ค.61
· ธปท. ระบุว่า ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/61 ที่ทางสภาพัฒน์แถลงเติบโต 4.6% นั้นสอดคล้องกับที่ธปท.คาดการณ์ไว้ โดยจะมีการทบทวนอีกครั้งในการประชุมกนง. เดือนก.ย.นี้
ทั้งนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ธปท.คาดว่าจะพิจารณาเลิกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ โดยอาจมีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสม