· ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย 0.1% บริเวณ 95.07 จุด หลังตลาดตอบรับกับถ้อยแถลงของนายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ไปในเชิงบวกส่งผลให้ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเริ่มกลับเข้ามาในตลาด
โดยนายโพเวลล์ ได้กล่าวยืนยันว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแผนต่อไป โดยไม่สั่นคลอนกับคำตำหนิของประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ไม่พอใจการขึ้นดอกเบี้ยแต่อย่างไร
ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1624 ดอลลาร์/ยูโร หลังแข็งค่าขึ้นไปถึงระดับ 1.1654 ดอลลาร์/ยูโร ที่เป็นระดับแข็งค่าที่สุดของวันที่ 2 ส.ค. โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ค่าเงินยูโรได้ปิดตลาดแข็งค่าขึ้นกว่า 0.7% ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.15% เมื่อเทียบกับเงินเยนวันนี้ บริเวณ 111.06 เยน/ดอลลาร์
ขณะที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าต่อที่บริเวณ 6.8061 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 8 ส.ค.
· วิเคราะห์ค่าเงินยูโรทางเทคนิค : ยูโร Break เทรนขาลงที่ยาวนานกว่า 4 เดือน
นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินยูโร (EUR/USD) สามารถปิดตลาดวันศุกร์เหนือเส้นแนวต้านของเทรนขาลง ที่เริ่มตั้งแต่ระดับสูงสุดของวันที่ 19 เม.ย. จนถึงระดับสูงสุดของวันที่ 31 ก.ค. ส่งผลให้ภาพรวมระยะสั้นดูเป็นแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งมากขึ้น
โดยค่าเงินทำระดับสูงสุดรายวันได้ 1.1654 ก่อนจะลงเคลื่อนไหวบริเวณ 1.1627
ทั้งนี้ มีแนวโน้มที่ค่าเงินจะลงมาทดสอบเส้นเทรนขาลงเดิม (แนวต้านก่อนหน้า) ก่อนที่จะแข็งค่ากลับขึ้นไปได้ เนื่องจากเส้น RSI บ่งชี้ถึงสัญญาณ Overbought
· เครื่องมือ FedWatch ล่าสุดของ CME Group ประเมินโอกาสความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมเดือนธ.ค.ที่ 63.7% โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 60.6% จากผลสำรวจก่อนหน้า ขณะที่โอกาสที่จะเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนก.ย. จากชาร์ตอยู่ที่ 96% จากก่อนหน้าที่ระดับ 93.6%
· ท่ามกลางประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในสหรัฐฯ ณ ขณะนี้ นักวิเคราะห์หลายสำนักประเมินว่า นายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของคนในประเทศไปยัง Trade warระหว่างสหรัฐฯ-จีนแทน
นั่นหมายความว่า Trade war มีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลง ตามภาวะความตึงเครียดทางการเมืองของนายทรัมป์
· บรรดานักวิเคราะห์ ระบุว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับวิธีจัดการกับค่าเงินภายในประเทศ โดยส่งสัญญาณว่าไม่มีความตั้งใจที่จะใช้ค่าเงินหยวนเป็นอาวุธในการทำสงครามการค้ากับทางสหรัฐฯ
ค่าเงินหยวน อยู่ภายใต้แรงกดดันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สองของโลก ได้รับผลกระทบกับภาวะข้อขัดแย้งของการเรียกเก็บภาษีทางการค้าที่ยังดำเนินไป โดยในวันศุกร์ที่ผ่านมา PBOC เริ่มตอบโต้สหรัฐฯด้วยการประกาศปรับลดค่าเงินหยวนในนาม “Counter-cyclical factor” เพื่อรักษาให้ค่ากลางของเงินหยวนมีระดับที่มีเสถียรภาพ
· รัฐบาลจีนเตือน ปริมาณการลงทุนในประเทศกำลังอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และมีแนซโน้มที่จะอ่อนแอลงยิ่งขึ้นในอนาคต พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนเพิ่มการใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญปัจจัยความเสี่ยงจากทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะเลวร้ายลงก่อนที่จะสามารถกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง
· อิหร่านและซีเรียร่วมลงนามในสนธิสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือกันทางการทหาร ในการพบกันระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของทั้ง 2 ประเทศในวันนี้ โดยที่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดแต่อย่างใด
ทางด้านนายจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวว่า อิหร่านควรถอนกองกำลังออกจากประเทศซีเรีย
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่อาจจะกดดันการเติบโตเศรษฐกิจโลก ขณะที่เหล่าเทรดเดอร์ ระบุว่า การคว่ำบาตรของสหรัฐฯในอิหร่านจะเป็นปัจจัยที่หนุนให้ราคาน้ำมันดิบไม่ปรับตัวลงไปมากก็นี้ก็ตาม
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ Brent ลดลง 19 เซนต์ ที่ระดับ 75.63 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ลดลง 30 เซน๖ื ที่ระดับ 68.42 เหรียญ/บาร์เรล