· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น และกลุ่มนักลงทุนมีความกังวลต่อค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ประกอบกับข่าวความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน จึงส่งผลให้เกิดความต้องการค่าเงินดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven
ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.34% ที่ระดับ 95.464 จุด หลังจากที่ช่วงต้นตลาดขึ้นไปทำระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 95.737 จุด
· ข้อมูลดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯปรับขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 14 ปีในเดือนส.ค. เพราะได้รับอานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่
· ยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าแผนการที่นายทรัมป์ต้องการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนครั้งใหม่ มูลค่า 2 แสนล้านเหรียญจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขณะที่การเจรจาข้อตกลง NAFTA ของสหรัฐฯและแคนาดายังไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าสหรัฐฯและเม็กซิโกจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ไปแล้ว
· ค่าเงินและหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ได้รับแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อในตุรกี หลังจากที่ข้อมูลล่าสุด แสดงให้เห็นว่า แอฟริกาใต้กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ โดยจะเห็นได้ว่าดัชนี MSCI ปรับตัวลงไป 0.8% และเป็นการร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์นั้นปรับแข็งค่าขึ้น
ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลง 0.3% ที่ระดับ 1.1586 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินแคนาดาดอลลาร์อ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ว่าแคนาดาจะสามารถจัดการทางการค้าสหรัฐฯอย่างไร จึงเห็นค่าเงินอ่อนค่า 0.64% ที่ระดับ 1.32 แคนาดาดอลลาร์
ค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้ร่วงลง 3.3% ขณะที่ค่าเงินลีราของตุรกีวานนี้อ่อนค่าลงอีก 1%
· JPMorgan เผยว่า ดัชนีค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2017 ขณะที่ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกก็อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
· รายงานจากเฟด ระบุว่า แม้บริษัทรายใหญ่ในสหรัฐฯได้รับเม็ดเงินส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยได้รับอานิสงส์จากแผนภาษีฉบับยกเครื่องของนายทรัมป์ และการซื้อหุ้นคืนที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะบอกว่าภาคการลงทุนของพวกเขาขยายตัวได้ดีขึ้นจากนโยบายของนายทรัมป์
ทั้งนี้ แผนภาษีฉบับยกเครื่องของนายทรัมป์ในรอบกว่า 30 ปีที่ได้รับอนุมัติจากทางสภาคองเกรสเมื่อเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว ที่ช่วยปรับลดภาษีนิติบุคคลและไปเรียกเก็บจากบริษัทข้ามชาติ และทำให้มีเม็ดเงินไหลคืนกลับเข้าบริษัทต่างๆในไตรมาสแรกกว่า 3 แสนล้านหรียญ
· นายจัสติน ทรูโด้ นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระบุว่า แคนาดาจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อข้อเรียกร้องใดๆในการเจรจาสัปดาห์นี้กับสหรัฐฯในเรื่องข้อตกลง NAFTA
เจ้าหน้าที่อาวุโสจากทั้ง 2 ประเทศ มีกำหนดการจะพบกันในวันนี้ที่สหรัฐฯ เพื่อหารือข้อแตกต่างหลักๆ ท่ามกลางแรงกดดันที่สหรัฐฯต้องการให้บรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ในเร็ววัน
· กลุ่มเกษตรกรทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯแสดงความกังวลว่า จะได้รับครั้งเสียหายครั้งต่อไปจากปัญหา Trade War ต่อการเติบโตของพืชพันธ์เกษตรที่มีราคาอ่อนตัวลงและการแย่งกันสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ซื้อ
· ทางทำเนียบขาวกล่าวเตือนซีเรียว่าอาจทำกรตอบโต้หากประธานาธิบดีซีเรียยังเลือกใช้อาวุธเคมีตามแหล่งข่าวความรุนแรงครั้งใหม่ที่สหรัฐฯได้รับว่ารัฐบาลซีเรียมีแผนที่จะดำเนินการอย่างไร้มนุษยธรรม
· ผู้นำคาตาลันยังคงรณรงค์การแยกตัวจากสเปน และต้องการให้สเปนยอมรับผลการลงประชาติที่จะมีการโหวตใหม่อีกครั้ง
· นางอังเกลาร์ แมร์เคล ระบุว่า เยอรมนีพยามดำเนินการเพื่อให้เกิดการบรรลุข้อตกลงร่วมกันระหว่างอียูและอังกฤษ แต่ก็ไม่รับรองว่าจะสามารถบรรลุผลสำเร็จหรือไม่
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเล็กน้อย ท่ามกลางการปฏิรูปโครงสร้างพลังงาน ในสหรัฐฯที่จะเผชิญกับพายุเฮอริเคน แต่การเพิ่มขึ้นยังคงเป็นไปอย่างจำกัดจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ รวมทั้งสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นในรัฐคุชชิงและรัฐโอกลาโฮมา
น้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 7 เซนต์ ที่ระดับ 69.87 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ช่วงต้นตลาดไปทำระดับสูงสุดบริเวณ 71.4 เหรียญ/บาร์เรล ท่ามกลางสหรัฐฯที่ปิดทำการในวันจันทร์เนื่องในวันหยุด Labor Day
น้ำมันดิบ Brent ปิดลง 2 เซนต์ ที่ระดับ 78.17 เหรียญ/บาร์เรล โดยลดลงจากระดับสูงสุดเมื่อ 79.72 เหรียญ/บาร์เรล
อย่างไรก็ดี ทั้งน้ำมันดิบ WTI และ Brent ต่างปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุดได้ในช่วงต้นตลาด จากข้อมูลที่ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันทำการอพยพคนออกจากโรงงานในเม็กซิโก โดยมีการปิดที่ทำการไปกว่า 9% อันได้รับผลจากพายะกอร์ดอน