ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1601 ยูโร/ดอลลาร์ โดยปรับตัวสูงขึ้น 0.4% ในช่วงก่อนหน้า ช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับประเด็นหนี้สินของอิตาลี
• ดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบ Elliott Wave โดยเราอาจเห็นระดับของดัชนีดอลลาร์ขึ้นทดสอบ 96 จุดได้อีกครั้ง และคาดว่าราคาจะมีการทำขาล่างที่แข็งแกร่งที่ 91-93 จุด และดัชนีดอลลาร์จะกลับเป็นขาลงหากยังอยู่ต่ำกว่า 96.98 จุด
.png)
• ค่าเงินยูโรเครื่องไหวในกรอบ Elliott Wave ตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ. ที่ผ่านมา และอาจไม่น่าแปลกใจที่ต้องเห็นค่าเงินยูโรอ่อนค่ากลับลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1.1530 ดอลลาร์/ยูโร เพราะมีโอกาสจะเห็นค่าเงินกลับมาแถว 1.1450 - 1.1500 ดอลลาร์ยูโร ขณะเดียวกันภาพรวมของดัชนียังดูเป็นขาขึ้นและมีโอกาสยืนได้เหนือระดับ 1.1750 - 1.12 ดอลลาร์/ยูโร
.png)
• วิเคราะห์ค่าเงินยูโรทางเทคนิค : ค่าเงินยูโรสูญเสียแรงหนุนขาขึ้น และเริ่มกลับมาเป็นขาลงอีกครั้ง
ค่าเงินยูโรเมื่อวานนี้สามารถรีบาวน์กลับขึ้นมาได้หลังชนกับแนวรับสำคัญที่บริเวณ $1.1520/30 แต่การรีบาวน์ยังคงไม่แข็งแกร่งพอที่จะลบล้างแนวโน้มทิศทางขาลงได้
ทั้งนี้ หากราคาสามารถทรงตัวแบบสะสมพลังเหนือระดับ $1.1600 ได้ ก็มีโอกาสที่ค่าเงินจะสามารถกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน $1.1635/40 (แนวต้านเทรนขาลงที่เริ่มจากระดับสูงสุดของเดือน ส.ค.) หรือสูงกว่าได้
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมก็ยังคงอยู่ในทิศทางขาลง โดยในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งหากค่าเงิน Break ระดับ 1.1520/30 ลงไป ก็มีโอกาสที่จะปรับอ่อนค่าลงต่อได้อีก
สำหรับช่วงตลาดเอเชียวันนี้ คาดการณ์ว่า ค่าเงินจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง ต่ำกว่าระดับ $1.1605 ต่อไป โดยวันนี้จะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ $1.1570
• Eric Fishwick หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจจาก CLSA ประเมินว่า Trade war ระหว่างสหรัฐฯ-จีน อาจทำให้จีนต้องขยายขอบเขตอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจออกสู่ประเทศอื่นๆมากขึ้น ซึ่งเป็นผลลัพณ์ที่สหรัฐฯอาจไม่ได้คาดการณ์เอาไว้
นอกจากนี้ยังได้ประเมินอีกว่า การที่สหรัฐฯเป็นฝ่ายก่อสงครามทางการค้าผ่านการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน ไม่ได้เป็นเพราะสหรัฐฯมีการซื้อสินค้าจากจีนมากเกินไป แต่เป็นเพราะสหรัฐฯเกรงกลัวความสามารถในการเติบโตของเศรษฐกิจจีนมากกว่า
• Christopher Wood นักกลยุทธ์จาก CLSA ระบุว่า ในปัจจุบัน ธนาคารกลางไม่ได้ถือเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาดเหมือนเมื่อทศวรรษที่แล้วอีกต่อไป เนื่องจาก ธนาคารกลางพยายามทำตัวให้ “ถูกคาดการณ์ได้โดยง่าย” มาโดยตลอด ดังนั้นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาดในปัจจุบันก็คือสถานการณ์ทางการเมือง
• ท่ามกลางการเลือกตั้งกลางวาระของรัฐบาลสหรัฐฯที่เข้าใกล้เข้ามา พรรครีพับลิกันได้เปิดเผยนโยบายปรับลดภาษีฉบับใหม่ ที่อาจทำให้รัฐบาลมียอดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่านโยบายฉบับใหม่มีแนวโน้มต่ำที่จะสามารถกลายเป็นกฏหมายได้จริง และอาจเป็นเพียงแค่การพยายามเรียกเสียงสนับสนุนให้กับตัวเองก่อนถึงการเลือกตั้งเสียมากกว่า
• บรรดาธุรกิจแนวหน้าของรัสเซียและจีนกำลังพิจารณาโปรเจ็คท์ร่วมลงทุนเป็นจำนวน 73 โปรเจ็คท์ ที่มีมูลค่าการลงทุนรวมกันมากกว่า 1 แสนล้านเหรียญ
การให้ความร่วมมือกันทางธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศเกิดขึ้นภายใต้แรงกดดันของสหรัฐฯ ที่กำลังมีนโยบายคว่ำบาตรรัสเซีย และสงครามทางการค้าด้วยการขึ้นภาษีสินค้าของจีน ซึ่งเดิมที ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-รัสเซีย ถือว่าไม่ค่อยดีนัก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของทั้งคู่กลับใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
• อดีตประธานธนาคารกลางจีน กล่าวว่า การประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนจะส่งผลให้จีนสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัสเซียได้ดียิ่งขึ้น
• ขณะที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ไปเดินทางถึงรัสเซียอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมร่วมกับนายวลาดิเมีย ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ตามคำเชิญของเขาเพื่อเจรจาพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่งาทั้ง 2 ประเทศ โดยการพบกันครั้งนี ถือเป็นครั้งที่ 3 ภายในปีนี้
• รายงานจาก Financial Times ระบุว่า นโยบายสำรองสำหรับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษที่นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เสนอต่อสภา ยังคงไม่ประสบความสำเร็จในการเรียกเสียงสนับสนุนจากรัฐสภา
ขณะที่อังกฤษมีกำหนดถอนตัวออกจากสหภาพอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มี.ค. ปี 2019 ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลอังกฤษยังคงไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าร่วมกับสหภาพยุโรปได้เลย ขณะที่ฝ่ายค้านบางส่วน เริ่มเสนอให้นางเมย์พิจารณาการลงประชามติ Brexit เหมือนเมื่อปี 2016 ใหม่อีกครั้ง
• ยอดส่งออกน้ำมันสู่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณืภายในเดือนนี้ ท่ามกลางแรงเข้าซื้อจากทั้ง 2 ประเทศในเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันสหรัฐฯที่ลดน้อยลง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
ทั้งนี้ รายงานจาก Reuters ประเมินว่า สหรัฐฯจะมียอดส่งออกน้ำมันสู่เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 230,000 บาร์เรล/วัน โดยประมาณ ขณะที่ยอดส่งสู่ญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 134,000 บาร์เรล/วัน
• อ้างอิงความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญภาคอุตสาหกรรม ระบุว่า การทีสหรัฐฯตัดสินใจคว่ำบาตรภาคอุตสาหกรรมพลังงานของอิหร่าน ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพ.ย.นี้ อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นแตะ 100 เหรียญ/บาร์เรลได้ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะมีระดับการซื้อขายอยู่แถว 68 เหรียญ/บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่แถว 78 เหรียญ/บาร์เรล
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ แม้ว่าทางสหรัฐฯจะพยายามกระตุ้นให้เเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบก็ตาม
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ระดับ 67.70 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 0.5% ที่ระดับ 77.75 เหรียญ/บาร์เรล