• ดัขนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.07% บริเวณ 95.185 จุด หลังมีสัญญาณว่าสหรัฐฯและแคนาดาอาจสามารถหาข้อตกลงร่วมกันในการเจรจาภายใต้สนธิสัญญา NAFTA แต่ความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินดอลลาร์อยู่
ด้านค่าเงินหยวนปรับอ่อนค่า 0.1% บริเวณ 6.8857 หยวน/ดอลลาร์ หลังทำระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ครึ่งที่ 6.8888 หยวน/ดอลลาร์ ในช่วงตลาดก่อนหน้า
ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลง 0.2% บริเวณ 1.1586 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินดอลลาณ์เมื่อเทียบกับเงินเยนอ่อนค่า 0.13% บริเวณ 111.49 เยน/ดอลลาร์
• นายฌ็อง คล์อด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการอียู เสนอแผนการดำเนินนโยบายประจำปีต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการอียูในวันนี้ โดยนายจุงเกอร์เสนอให้ผลักดันค่าเงินยูโรให้กลายเป็นสกุลเงินหลักของเศรษฐกิจโลกแทนที่ดอลลาร์
โดยนายจุงเกอร์กล่าวว่า “นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะถอดถอนสหรัฐฯออกจากสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ นั่นอาจเป็นโอกาสที่อียูจะสามารถกระจายค่าเงินออกสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้น”
• สำหรับกรณีการเจรจา Brexit กับอังกฤษ นายจุงเกอร์ได้ระบุว่า อียูจะไม่ยอมอ่อนข้อในการเจรจาไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม โดยที่ทางอียูยังคงมีเป้าหมายของเจรจาคือการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับอังกฤษเอาไว้ แม้อังกฤษจะถอนตัวออกไปจากอียูก็ตาม
• รายงานจาก Reuter ระบุว่า การประชุมบีโอเจในสัปดาห์หน้าถูกคาดว่าจะยังคงนโยบายการเงินต่อไป ท่แม้ว่าประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกจะสามารถรองรับการขยายตัวในระดับปานกลางจากปริมาณความต้องการของโลกที่แข็งแกร่ง
• ประธานธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐเช็ก ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางอาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดภายในเดือนนี้ และอาจมีตามมาอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้
• แหล่งข่าวจากรัฐบาล กล่าวว่า ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ผลิตรถยนต์ รวมถึงการลดหย่อนภาษีเพื่อชดเชยผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯและการขึ้นภาษียอดขายที่วางแผนไว้สำหรับปีหน้า
• ในที่ประชุม Eastern Economic Forum ณ เมืองวลาดิวอสต๊อก ประเทศรัสเซีย ที่เข้าร่วมโดยบรรดาผู้นำประเทศในแถบเอเชีย อย่างนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน, นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, รวมถึงนายวลาดิเมีย ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
ซึ่งนายปูตินได้ขึ้นกล่าวในที่ประชุม โดยระบุว่า “ปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียก็คือท่าทีกีดกันทางการค้า ซึ่งทุกๆประเทศต้องให้ความร่วมมือกันเพื่อก้าวข้ามปัญหาดังกล่าวไปด้วยกัน”
ขณะที่นายจิ้นผิงก็ได้กล่าวสนับสนุนถ้อยแถลงของนายปูตินเช่นกัน โดยกล่าวว่า “ท่าทีกีดกันทางการค้ากำลังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งเรายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อต่อสู่กับปัญหาดังกล่าว”
ในระหว่างการประชุม นายปูตินได้กล่าวกับนายอาเบะ โดยได้แสดงความต้องการที่จะให้รัสเซียและญี่ปุ่นร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพให้สำเร็จก่อนสิ้นปีนี้ เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศยังคงมีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับหมู่เกาะในมหาสมุทธแปซิฟิก และยังคงมีความขัดแย้งกันจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่
นอกจากนี้ นายอาเบะยังได้ตกลงกับนายจิ้นผินว่าตนจะเดินทางไปยังประเทศจีนอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. เพื่อพบกับนายจิ้นผิงโดยตรงอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นสัญญาณล่าสุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
• Fereidun Fesharaki ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท FACTS Global Energy ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยระบุว่า นโยบายคว่ำบาตรอิหร่านของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นถึงระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล
ทั้งนี้ อิหร่านถือเป็น 1 ในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก การตัดการส่งออกน้ำมันของอิหร่านทั้งหมดจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากไม่มีประเทศผู้ผลิตใดสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันได้มากพอที่จะมาทดแทนน้ำมันของอิหร่านได้เลย
นายทรัมป์เคยทวีตข้อความว่า ราคาน้ำมันในปัจจุบันสูงเกินไป และเรียกร้องให้กลุ่มโอเปกทำการลดราคาน้ำมันลงมา แต่กลุ่มโอเปกไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากพวกเขาไม่มีปริมาณน้ำมันสำรองมากพอที่จะหนุนปริมาณอุปทานน้ำมันในตลาดให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ขณะที่บรรดาแท่นขุดเจาะในสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะเข้าใกล้เพดานของกำลังการผลิตเข้าทุกทีๆ ดังนั้นการเชื่อมั่นว่าปริมาณน้ำมันสหรัฐฯจะเข้ามาแทนที่การส่งออกน้ำมันของอิหร่าน จึงดูเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลรองรับ
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลงและการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯที่คาดว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอุปทาน ขณะที่ผู้ผลิตประเทศรัสเซียกล่าวเตือนว่า ตลาดน้ำมันทั่วโลก "เปราะบาง" เนื่องจากความเสี่ยงทางการเมืองและการหยุดชะงักของอุปทาน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 1% ที่ระดับ 69.93 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 79.36 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 4 วันทำการ