

.png)
• ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดลบอย่างหนักติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางแรงเทขายทำกำไรจากตลาดหุ้นทั่วโลกจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยอาจถูกปรับรวดเร็วยิ่งขึ้น สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มากเกินไป
โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด -2.13% หรือลดลง 545.91 จุด ที่ระดับ 25,052.83 จุด ส่งผลให้ภาพรวม 2 วันทำการของดัชนีปรับลดลงไปกว่า 1,300 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด -2.1% ที่ระดับ 2,728.37 จุด โดยเป็นการปรับลดลงติดต่อกัน 6 วันทำการ รวมถึงหลุดเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. ส่วนดัชนี Nasdaq ปิด -1.3% ที่ระดับ 7,329.06 จุด
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงไปมากถึง 698.97 จุด ก่อนที่จะรีบาวน์กลับขึ้นมาได้เล็กน้อย หลังมีรายงานข่าวว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ในพบกันโดยตรงะหว่างการประชุม G-20 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ส่งผลให้บรรดานักลงทุนมีความหวังว่าทั้ง 2 ประเทศอาจหลีกเลี่ยง Trade war ได้
.png)
• ตลาดหุ้นยุโรปทำระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ท่ามกลางแรงกดดันจากตลาดหุ้นสหรัฐฯที่เผชิญแรงเทขายอย่างหนักในช่วงตลาดก่อนหน้า จากความกังวลเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้เกิดแรงเทขายในสินทรัพย์เสี่ยง โดยดัชนี STOXX 600 ปิด -2%
.png)
• ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผสมผสาน ท่ามกลางความผันผวนในตลาดหลังดัชนีดาวโจนส์ปิด -500 จุดติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยดัชนี Nikkei เปิด -0.3% ขณะที่ดัชนี Kospi เปิด +0.33%
• นักบริหารทางการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอยู่ที่ระหว่าง 32.55-32.75 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแข็งค่าจากปัจจัยภายในหลังมีข่าวด้านพลังงาน ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไม่อนุมัติให้ GPSC การเข้าซื้อกิจการ GLOW ทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตลาดมองว่าเป็นดีลใหญ่ถ้ามีการเข้าซื้อน่าจะมีการโยกย้ายเงินจำนวนมาก
