• วิเคราะห์ดัชนี S&P500 ทางเทคนิค: ดัชนียังคงอ่อนแอยังถูกเทขายอย่างหนักเมื่อสัปดาห์ก่อน
นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า แรงเทขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ดัชนี S&P500 หลุดลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน และในปัจจุบันดัชนีก็ยังไม่มีสัญญาณว่าดัชนีจะฟื้นตัวแต่อย่างใด จึงคาดว่ามีแนวโน้มที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงต่อ ประกอบกับเส้น RSI, MACD และ Stochastic ส่งสัญญาณในทิศทางขาลง
ทั้งนี้ ดัชนีจะมีแนวรับแรกที่ระดับ 2,718.75 (ระดับสูงสุด 17 เม.ย.) ตามมาด้วย 2,700 และ 2,647.25 (ระดับต่ำสุด 2 มี.ค.) รวมถึงยังไม่มีสัญญาณใดๆที่บ่งชี้ว่าแนวรับเหล่านี้จะสามารถรองรับได้
ทิศทางหลัก: ขาขึ้น
ทิศทางระยะสั้น: ขาลง
แนวต้าน: 2763.50, 2800.00, 2834.25
แนวรับ: 2718.75, 2710.00, 2700.00
• ตลาดหุ้นยุโรปเคลื่อนไหวผสมผสาน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นความตึงเครียดระหว่างประเทศซาอุดิอาระเบียกับประเทศตะวันตกที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx600 ทรงตัว ขณะที่ตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางแตกต่างกัน
• ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ร่วงลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดต้นทุนราคาสินค้าที่หน้าประตูโรงงานชะลอตัวลงติดต่อกัน 3 เดือนและความตึงเครียดระหว่างประเทศซาอุดิอาระเบียกับประเทศตะวันตกจะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.25%
• ตลาดหุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัวในวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากแรง short covering อย่างไรก็ดียอดผู้ค้าปลีกลดลงเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคภายในประเทศและการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศจีน
ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 1.3% ที่ระดับ 22,549.24 จุด หลังจากร่วงลงไป 1.8% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับปิดที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.
• ตลาดหุ้นจีนปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า และปิดปรับตัวลดลง หลังจากที่ข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดต้นทุนราคาสินค้าที่หน้าประตูโรงงานประจำเดือนก.ย.ชะลอตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน ท่ามกลาง
ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่แย่ลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.8% ที่ระดับ 2,546.33 จุด
• ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 62 จะขยายตัวชะลอลงมาที่ 4.0% จากปีนี้คาดขยายตัวในอัตรา 4.5% แต่อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าเป็นอัตราสูงสำหรับเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่เติบโตเฉลี่ยต่ำกว่า 3% ต่อปี
ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกของไทยมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญจากผลกระทบของสงครามการค้าและภาวะทางการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวไทยจะเผชิญกับข้อจำกัดจากความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของสนามบินสำคัญต่างๆ ของไทย